แรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำ กรณีศึกษา: วัดสำคัญในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • นวพร บุญประสม คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา
  • ศุภลักษณ์ สุริยะ
  • อติ เรียงสุวรรณ
  • ประวีร์ เหวียนระวี
  • วัลยา ชูประดิษฐ์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การรับรู้, การกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) เพื่อศึกษาการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย 3) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีผลต่อการกลับมาเที่ยวซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวไทย        เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง การสุ่มขนาดตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณณา และทดสอบสมมติฐานโดยสถิติเชิงอนุมาน การวิจัยพบว่า ด้านแรงจูงใจ ด้านการรับรู้ และการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ อยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ อายุ และอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อการรับรู้และแรงจูงใจ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  แรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ (R2) ร้อยละ 86.6 แรงจูงใจส่งผลทางบวกต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในด้านการรับรู้มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ (R2) ร้อยละ 67.3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24