การจัดการเรียนการสอนโดยใช้พิมพ์เขียวแบบจำลองธุรกิจ
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอน, แบบจำลองธุรกิจ, แคนวาสบทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เรียกว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้พิมพ์เขียวจำลองธุรกิจ โดยใช้ทฤษฎีของพิมพ์เขียวแบบจำลองธุรกิจของออสเทอร์ วัลเดอร์ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ (1) หุ้นส่วนหลัก (2) กิจกรรมการเรียนการสอนหลัก (3) แหล่งความรู้หลัก (4) ค่านิยมการเรียนการสอนที่จะทำให้เกิดขึ้น (5) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน (6) การจัดกลุ่มผู้เรียน (7) ช่องทางการเรียนการสอน (8) โครงสร้างต้นทุน และ (9) โครงสร้างรายได้ วัตถุประสงค์ของแบบจำลองพิมพ์เขียวธุรกิจมี 3 ประการคือ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการเรียนการสอน (2) เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายและแผนปฏิบัติการเรียนการสอน และ (3) เพื่อประมาณการและควบคุมงบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ โดยตั้งคำถามหลัก 4 ข้อ คือ (1) กลุ่มเป้าหมายนักศึกษาคือใคร (2) ค่านิยมร่วมที่จะถ่ายทอดแก่นักศึกษาคืออะไร (3) จะดำเนินการเรียนการสอนให้สำเร็จอย่างไร และ (4) ต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพื่อลดต้นทุน บรรลุเป้าหมาย และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพคืออะไร
References
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561) กิจกรรมจัดทําองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ งานพัฒนาองค์ความรู้สําหรับ SME (Knowledge Center) ปีงบประมาณ 2561 แหล่งสืบค้นhttps://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20181005082208.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564
Osterwalder and Pigneur (2010) Business Model Generation: A Handbook for Visionaries, Game Changers, and Challengers
Michael E. Porter (1985) ห่วงโซ่คุณค่า Porter’s Value Chain Map คุณค่า Michael E. Porter’s Value Chain Map แหล่งที่มา https://medium.com/@phudit/business-model-development สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564