การวิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานระดับคณะวิชาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จอมภัค จันทะคัต Vongchavalitkul University 84 Moo 4 Mittraphap - Nongkhai Road, T. Ban Koh, Mueang District , Nakornratchasima
  • ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล
  • อำพล นววงศ์เสถียร

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์, ทุนมนุษย์, ผลการดำเนินงานระดับคณะวิชา, สมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อ 1) วิเคราะห์โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับคณะวิชา และ 2) ตรวจสอบค่าอิทธิพลของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับคณะวิชา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือคณบดีและรองคณบดีจากคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย จำนวน 300 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการโครงสร้าง การวิจัยพบว่า โมเดลสมการโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ทุนมนุษย์ และผลการดำเนินงานระดับคณะวิชา มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า Chi-square = 101.530 df = 86 p-value = 0.121  Chi-square/df = 1.181 GFI = 0.961  CFI = 0.991 RMR = 0.009 RMSEA = 0.025 และ R2 = 0.31 เมื่อตรวจสอบค่าอิทธิพลพบว่า ผลการดำเนินงานระดับคณะวิชาได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์และทุนมนุษย์ และทุนมนุษย์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ในขณะที่ผลการดำเนินงานระดับคณะวิชาได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ส่งผ่านทุนมนุษย์

References

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน และธนียา เทียนคำศรี. (2561). การศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(2), 591-599.
ฤาชุตา เทพยากุล และอิศรัฏฐ์ รินไทสง. (2559). ความหมายและองค์ประกอบของการบริหารคนเก่งในองค์กร: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(2), 77-84.
ธนพร เทียนประเสริฐ. (2560). บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ: การเปรียบเทียบไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 27-38.
นรภัทร อิ่มพานิช. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. วารสารสุทธิปริทัศน์. 30(94), 83-97.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2559). การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มมูลค่า. กรุงเทพฯ: กราฟิกโก ซิสเต็มส์
ปริญญา สิริอัตตะกุล และ พิชญา ทองอยูเย็น. (2554). ปจจัยที่มีอิทธิพลตอผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน: การประยุกตใชตัวแบบสมการโครงสราง. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 8(2), 55-70.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พรทิพย์ มาตย์วังแสง, ธีรพรรณ อึ๊งภากรณ์ และกาญจนา หินเธาว์. (2563.) ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อประสิทธิภาพองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(1), 473-486.
เลิศชัย สุธรรมานนท์. (2555). ศึกษาเรื่องระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถาบันอุดมศึกษาเอก. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย.
18(2), 31-46.
วรเดช จันทรศร, อติพร เกิดเรือง และวิพัฒน์ หมั่นการ. (2560). สัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย. วารสารการบริหารปกครอง. 6(1) : 266-288.
สุรมงคล นิ่มจิตต์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ศึกษาการพัฒนารูปแบบกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อความได้เปรียบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการ RMUTT Global Business and Economic Review, 11(2), 129-143.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่10
พฤศจิกายน 2559. จาก http://www.egov.go.th/th/government-agency/186.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2559. จาก
http://www.mua.go.th/users/bhes/QAMUA58/qa%20manual58/iqa_2558.pdf
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). คู่มือผู้ประเมินเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับอุดมศึกษา (พ.ศ.2554-2558). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่
2 ตุลาคม 2560. จาก http://www.onesqa.or.th/th/contentdownload
อนันต์ชัย คงจันทร์. (2557). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abdussalaam, I., Abdul, H., Mohammed, Jibrin., & Mohd, H. (2019). Moderating Effect of Management Support on the Relationship between HR Practices and Employee Performance in Nigeria. Global Business Review, 22(1), 132-150.
Allui, A. & Sahni, J. (2016). Strategic Human Resource Management in Higher Education Institutions Empirical Evidence from Saudi. Procedia-Social and Behavioral Sciences. 235, 361-371.
Amin,M., Ismail, W. K. W., Rasid, S. Z. A. & Selemani, R. D. A. (2014). The Impact of human resource management practices on performance: Evidence from a public University. TQM Journal. 26(2), 125-142.
Armstrong, M. (2008). Strategic Human Resource Management: A guide to action (4th Edition). London and Philadelphia.
Barney, J. (1991).Firm resources and sustained competitive advantage. .Journal of Management, 17(1), 99-120.
Becker, G. S. (1975). Human Capital: A theoretical and empirical analysis, with special reference to Education (2nd Edition). New York: National Bureau of Economic Research.
Bentler, P., M. & Chou, C. P. (1987). Practical Issues in Structural Modeling. Sociological Methods and Research, 16, 78- 117.
Chatterji, N. & Kiran R. (2017). Role of human and relational capital of universities as underpinnings of a knowledge economy: A structural modelling perspective
from north Indian universities. International Journal of Educational Development. 56, 52-61.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Crook, T. R., Combs, J. G., Todd, S. Y., Woehr, D. J. & Ketchen Jr, D. J. (2011). Does Human Capital Matter? A Meta-Analysis of the Relationship between Human
Capital and Firm Performance. Journal of Applied Psychology. 96(3), 443-456.
Dess, G. G. & Pickon, J. C. (1999). Beyond productivity: How leading companies achieve superior performance by leveraging their human capital. New York: American Management Association.
Felicio, J. A. & Couto, E. (2014). Human Capital, Social Capital and Organizational Performance. Management Decision, 52(2), 350-364.
Hair, J.F., Black, W.C, Babin, B. J., & Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis. USA: Pearson Education.
Lawrence, E., & Kingsley, O. (2018). Mapping the Perceived Role of Strategic Human Resource Management Practices in Sustainable Competitive Advantage. Academy of Strategic Management Journal, 17(2), 1-19.
Lepak, D. P., Liao, H., Chung, Y. & Harden, E. E. (2006). A Conceptual Review of Human Resource Management Systems in Strategic Human Resource Management Research. Research in Personnel and Human Resources Management, 25, 217-271.
Mahmood, K., & Azhar, S. M. (2015). Impact of Human Capital on Organizational Performance A Case of Security Forces. Pakistan Journal of Science, 67(1). 102-108.
Nieves, J., & Quintana, A. (2016). Human resource practices and innovation in the hotel Industry: The mediating role of human capital. Tourism and Hospitality Research. 18(1), 72-83.
Noe, R. A., Hollenbeck, J. R., Gerhart, B. & Wright, P. M. (2008). Human Resource Management: Gaining A Competitive Advantage (6th edition). New York:
McGraw Hill.
Nunnally, J. C., Bernstein, I. H., & Berge, J. M. T. (1967). Psychometric theory. New York: McGraw-hill.
O*NET Online. (2019). Details Report for: Postsecondary Teachers, All Other. Retrieved November16, 2019, from https://www.onetonline.org
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research,2, 49-60.
Pakorn, S. (2013). Individual Human Capital and Performance: An Empirical Study in Thailand. Ph. D. Dissertation, University of Texas at Arlington.
Shareef, A., A., Mikail I., & Harison, M., S. (2020). The Positive Mediating Impact of Teacher Helping Behaviour on HPWS and Teacher Performance in SHRM. International Journal of Scientific and Research Publications, 10(11), 767-774.
Schuler, R. S., & Jackson, S. E. (1987). Linking competitive strategies with human resource management practices. The Academy of Management EXECUTIVE. 1(3), 207–219.
Schultz, Theodore W. (1961). Investment in Human Capital. The American Economic Review. 51(1), 1-17.
Wan, D., Kok, V. & Ong, C. H. (2002). Strategic Human Resource Management and Organizational Performance in Singapore. Compensation & Benefit Review.
34(4), 33-42.
Wright, P.M. & Snell, S. A. (1991). Toward an Integrative View of Strategic Human Resource Management. Human Resource Management Review. 1(3), 203-225.
Wright, P. M. & MacMahan, G. C. (1992). Theoretical Perspectives for Strategic Human Resource Management. Journal of Management. 18(2), 295-320.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24