ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรณิชชา ทศตา คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์
  • กชพร ใจอดทน

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 346 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ในแต่ละสาขาวิชา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดประมาณค่า
มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.936 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยพบว่า1. ปัจจัยที่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือ ปัจจัยด้านผู้เรียนและปัจจัย
ด้านสภาพแวดล้อม ส่วนปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านอุปกรณ์สื่อ/ เทคโนโลยี ปัจจัยด้านครอบครัวและเพื่อน
มีสหสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ อยู่ระหว่าง 0.010 ถึง 0.481      2. ตัวแปรพยากรณ์ที่ทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมาได้ คือ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านอุปกรณ์สื่อ/ เทคโนโลยี ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับร้อยละ 21.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 4.60  โดยค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านอุปกรณ์สื่อ/ เทคโนโลยี และปัจจัยด้านครูผู้สอน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ .209, .153, .130 เขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = -3.141 +.216X1 - .144X3 - .128 X2  ในรูปของคะแนนมาตรฐาน = .209X1 - .153X3 - .130 X2

References

เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กานดา คำมากและภัทราวรรณ์ สุนทราศรี.(2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี. รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
กนกภรณ์ เทสินทโชติ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา.
ขนิษฐา บุญภักดี. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ฉัตรแก้ว เภาวิเศษ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนดุสิต. รายงานการวิจัย.มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ชนิดา ยอดสาลี และกาญจนา บุญส่ง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ISSN 1906 – 3431 ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม–สิงหาคม. 2560. หน้า 1208–1223.
นัฐพล วัฒนสุข. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพประเภทวิชาอุตสากรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการ คิดเลขในใจของ นักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. (วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปัญญา กันเกตุ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรรณภัทร แซ่โท้ว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 13 (2). 294- 306.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แบเนจ เม็นท์.
รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2557). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ”. วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3) : 412-420.
วราภรณ์ ลวงสวาส. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา.
วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย โดยการวิเคราะห์พหุระดับ. (วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา)).เลย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
สุภาพร คำรศ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยพะเยา . (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยพะเยา.
เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย และ
ภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
Bloom, Benhamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning . New York: McGraw-Hill Book Co, Ltd.
Danial A. Prescott. (1961). Report of Conference on Child Study, Education Bulletin. Faculty of Education, Chulalongorn University.
Muijs, D, & Reyneld, D. (2002). Being or doing:Thefole of teacher behavior and beliefs in school and teacher effectiveness in mathermatic. Journal of Classroom Interaction, 2(37), 3-15.
Robinson, Ken. (2008). Changing Education Paradigms. as cited in Panich, V. (2012). The way to create learning for the disciple.in 21st Century. Bangkok: Sodsri-Saritwong foundation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย