ความรู้และการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • อธิวัฒน์ รัตนวงศ์แข คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

สมรรถนะด้านความรู้, นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านความรู้ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21 โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological analysis) ประเภทการวิเคราะห์สารระบบ (Taxonomy analysis) ของสมรรถนะด้านความรู้และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21 การวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะด้านความรู้ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยความรู้ 6 ด้าน คือ 1) จิตวิทยา 2) เทคโนโลยี 3) แรงงานสัมพันธ์ 4) ธุรกิจ 5) ความหลากหลายในองค์กร และ 6) การยศาสตร์ และ2. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในศตวรรษที่ 21 มี 4 วิธี คือ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การฝึกอบรม 3) การสอบถามจากผู้รู้ และ 4) การศึกษาในระบบ

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน (พิมพ์เขียว). กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
กานดา จันทร์แย้ม. (2556). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เกษมสันต์ วิลาวรรณ. (2561). คำอธิบายกฎหมายแรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_____________. (2556). 12 แนวคิด ฝ่าวิกฤตองค์กร. กรุงเทพฯ: วี พริ้นท์ (1991).
ฉลองชัย ธีวสุทรสกุล, อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์, และสุภาวดี อิสณพงษ์. (2558). รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน โดยกระบวนการศึกษาผ่านบทเรียน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). หลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ชนันภรณ์ อารีกุล. (2563). การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต แนวคิด หลักการ และสาระสำคัญ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวลิต สละ. (2551). หลักเศรษฐศาสตร์แรงงานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2557). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
____________. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
____________. (2554). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทื้อน ทองแก้ว. (2550). สมรรถนะ (Competency): หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประไพศรี ธรรมวิริยะวงศ์. (2559). การจัดการความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2), 1-12.
พยัต วุฒิรงค์. (2555). สุดยอดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).
สกล วรเจริญศรี. (2559). จิตวิทยาสำหรับการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2563). กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.tpqi.go.th/qualification.php.

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). (2562). มาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. กรุงเทพฯ: ชยากร พริ้นติ้ง.
สมพงษ์ จุ้ยศิริ และเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2542). หน่วยที่ 15. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการงานบุคคล (หน่วยที่ 15, น. 687-728) (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สิริอร วิชชาวุธ. (2553). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุจิตรา ธนานันท์. (2553). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ทีพีเอ็น เพรส.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564, จาก http://www.bic. moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf.
องอาจ นัยพัฒน์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สามลดา.
อรรควิช จารึกจารีต. (2561). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2552). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
_______________. (2559). โปรแกรมพัฒนาสมรรถนะด้านบริหารจัดการสำหรับผู้นำ: Managerial Competency Development Program. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปีที่ 17 (ฉบับที่ 1), 17-29.
Armstrong, M. (2014). Handbook of human resource management (13th Edition). London: Kogan page.
King, Laura A. (2012). The science of psychology (2nd Edition). New York: McGraw-Hill.
Nair, Nisha and Vohra, Neharika. (2015). Diversity and inclusion at the workplace: A review of research and perspectives. Retrieved August 15, 2021, from https://web.iima.ac.in/ assets/snippets/workingpaperpdf/8631467072015-03-34.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย