แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอรรถวิทย์
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, บุคลากร, โรงเรียนอรรถวิทย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอรรถวิทย์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอรรถวิทย์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนอรรถวิทย์ จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.66 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบสมมติฐานโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฎิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนอรรถวิทย์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานสูงสุด คือ ด้านความต้องการสัมพันธ์ รองลงมาคือ ด้านความต้องการดำรงชีวิต และด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า ตามลำดับ และ 2) บุคลากรของโรงเรียนอรรถวิทย์ที่มีอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และรายได้ต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมแตกต่างกัน ส่วนบุคลากรของที่มีเพศต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
References
ฐานะรัตน์ จีนรัตน์. (2561). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน ระดับปฐมศึกษา ในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).9(2) : 161 - 171.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่10). มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
พัชรินทร์ กลายสุวรรณ. (2560).แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไฮเวย์ จำกัด.[งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณา อาวรณ์. (2556). แรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการรัฐสภาระดับปฏิบัติงานสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร์. [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเกริก.
วิชชุดา ศิวายพราหมน์. (2564). (หัวหน้างานบุคคล และสวัสดิการครู บุคลากร โรงเรียนอรรถวิทย์).สัมภาษณ์, 12 มกราคม 2564.
สุนทรี พัชรพันธ์. (2551). รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านค้าสะดวกซื้อในสถานีบริการน้ำมัน เขตเมืองและชานเมืองของกรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพน์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต], จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรัญญา สุดกาย. (2564). แรงจูงใจในการทำงานของของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ(MBAC). [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต], วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 เปรมปภัสร์ เพชรจรัสศรี, ภูษิตย์ วงษ์เล็ก, ปฏิมา รุ่งเรือง, ตรีวิทย์ อัศวศิริศิลป์, จตุพร สังขวรรณ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.