ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การให้บริการ, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการสำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับการให้บริการกับความพึงพอใจของนักศึกษาในการให้บริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ 3) หาปัจจัยที่มีส่งผลต่อความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับการให้บริการสำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือนักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น จำนวน 3,928 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามวิธีของ Stepwise
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจปัจจัยเกี่ยวกับการบริการที่คาดว่าจะมีผลต่อความพึงพอใจในการให้บริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มาค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ระยะเวลาการให้บริการ และ บุคลากรที่ให้บริการ ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผล พบว่า ระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผลอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณภาพการให้บริการมีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผลด้านการดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ส่วนการบริการด้านอื่น ๆ นั้น ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริการของสำนักงานทะเบียนและประมวลผล
References
กรมควบคุมโรค. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2556). กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ. สืบค้นจาก http://www.xn--12ca1ddig2elng4ld4e1p.com/2012/11/blog-post_6.html.
ฐิติกาญจน์ ขวัญไฝ รัตนาภรณ์ สมใจ ยุวธิดา คงนุมัติ และสุวรรณี วิถีเทพ. (2562). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการของภาควิชาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 6(1): 74-84.
ธีระวุฒิ เอกะกุล. (2550). การวิจัยปฏิบัติการ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์ กรุ๊ป.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2560). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามประจำปีการศึกษา 2560. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เนตรนภา แสงเชื้อพ่อ พัชรีภรณ์ ไชยยงค์ และนาวี อุดร. (2564). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการของงานทะเบียน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม. Journal of Engineering Technology Access. 1(2): 48-57.
พรรณี ศรีกลชาญ และ ชัญญา อภิปาลกุล. (2552). ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อการให้บริการของสำนักงานวิชาการ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 32(4): 92-102.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะศึกษาศาสตร์.
สถาพร บริบูรณ์วัฒน์ สมฤทัย วงษาหมี ฐิติมา โสภางาม. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยต่อคุณภาพการให้บริการด้านกายภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 12(40):1-7
สรรค์ชัย กิติยานันท์ สุทธิพจน์ ศรีบุญนาค สุภัตรา กันพร้อม พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์ และยุพา ทองช่วง. (2560).คุณภาพการให้บริการของคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 4(2): 105-112.
สำนักงานทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. (2564). สถิตินักศึกษาปัจจุบัน. สืบค้นจาก https://reg.tni.ac.th/registrar/home.asp.
อรอนงค์ คำคนซื่อ และ มนตรี อนันตรักษ์. (2558). ความพึงพอใจต่อการให้บริการงานทะเบียนและประมวลผลของคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2): 137-145.
Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed.. New york : Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์, วิษณุ เพ็ชรไทย, ชุตินันท์ เจียมจิระเศรษฐ์, วรรณพล ศุภสกุลดํารงค์, บุณยวีร์ โชคประเสริฐสม, ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.