ความรับผิดของคู่สมรสในการทำสัญญาค้ำประกัน

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ ชนะวัรวรรณ

คำสำคัญ:

เรือนจำ ผู้ต้องขัง นักโทษเด็ดขาด การฆ่าคน ฆาตกรรม เรือนจำอำเภอพล

บทคัดย่อ

การทำสัญญาค้ำประกันเจ้าหนี้ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการอาชีพให้กู้มักจะอาศัยอำนาจการต่อรองที่สูงกว่าหรือความได้เปรียบในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้ค้ำประกันตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดเสมือนเป็นลูกหนี้ชั้นต้น กรณีจึงส่งผลให้ผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลธรรมประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ค้ำประกันจำนวนมาก โดยสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 กำหนดหลักเกณฑ์ ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอกแต่ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขพิเศษสำหรับผู้ค้ำประกันที่มีคู่สมรส การค้ำประกันยอมผูกพันตนเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ การชำระหนี้ยอมกระทบกระเทือนถึงความเป็นอยู่ของบุคคลในครอบครัว และอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคู่สมรสได้ ด้วยเหตุนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่บุคคลในครอบครัวของผู้ค้ำประกันโดยเฉพาะคู่สมรสที่ต้องช่วยเหลือเกื้อกู้กันภายในครอบครัว ดังนั้น กฎหมายจึงควรสร้างมาตราการในการคุ้มครองสิทธิคู่สมรสของผู้ค้ำประกัน

References

ปัญญา ถนอมรอด. (2564). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน จํานอง จำนำ. พิมพ์ ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

พจน์ ปุษปาคม. (2546). อธิบายประมวกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยค้ำประกัน จำนอง จำนำ สิทธิยึด

หน่วงและบุริมสิทธิ. กรุงเทพมหานคร : นิติบรรณาการ.

ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์. (2551). กฎหมายว่าด้วยกู้ยืมและหลักประกัน เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายว่า

ด้วยกู้ยืมและหลักประกัน ภาคการศึกษาปลาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ วายุภาพ. (2561). คําอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้. กรุงเทพมหานคร: สํานัก

อบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

มุนินทร์ พงศาปาน. (2562). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้ เล่ม 2 (ภาคจบริบูรณ์).

กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ศนันท์กรณ์ (จําปี) โสตถิพันธุ์. (2564). คําอธิบายนิติกรรมสัญญา. กรุงเทพมหานคร. วิญญูชน.

โสภณ รัตนากร. (2556). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหนี้. กรุงเทพมหานคร: นิติ

บรรณาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย