การสร้างแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้

ผู้แต่ง

  • วันเฉลิม บุญบุตร -
  • ชาญชัย ชอบธรรมสกุล
  • ชนะวงศ์ หงส์สุวรรณ
  • ชนิตา ไกรเพชร

คำสำคัญ:

การสร้างแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ , คุณลักษณะของแบบทดสอบทักษะกีฬาที่ดี , หลักการวัดและประเมินผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นนักกีฬาผู้รักษาประตูฮอกกี้ระดับสโมสร จำนวน 35 คน จากสโมสรฮอกกี้ 55 สโมสร ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า ทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ ด้านการหยุด (Stop Ball) มีทักษาะเพิ่มมากขึ้นที่สุด รองลงมา คือ การตี (Hitting) การเตะ (Kicking) การปัด (Swipe) และการสไลด์ (Slide) ตามลำดับ จากผลวิจัยครั้งนี้ พบว่า ระยะเวลาในการทดสอบมีผลทำให้ความสามารถในการรักษาและป้องกันประตูดีขึ้น ดังนั้น ถ้ามีเวลาในการทดสอบมากขึ้น ผู้ฝึกสอนกีฬาและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำแบบทดสอบทักษะผู้รักษาประตูฮอกกี้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มทักษะความสามารถ ทักษะการรักษาและป้องกันประตูให้สูงขึ้น

References

กมลเนตร อมรศักดากุล. (2558). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาเทควันโดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชาตรี พรมพุทธ. (2555). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาฮอกกี้สำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัตนาภรณ์ ทรงพระนาม. (2538). ปัญหาการส่งเสริมกีฬาฮอกกี้ของประเทศไทย ตามการรับรู้ของผู้บริหารสมาคมฮอกกี้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาฮอกกี้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรินทร์ ถนัดไร่. (2551). การสร้างแบบทดสอบทักษะฟุตซอล สำหรับนักศึกษาชาย สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกลุ่มภาคกลาง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมชาย รัตนทองคำ. (2554). เอกสารประกอบการสอน 475 788 การสอนทางกายภาพบำบัด ภาคต้นปีการศึกษา 2554. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2555). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29