ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภค ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ น้อยขัน -
  • อำพล นววงศ์เสถียร

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด , การตัดสินใจ, แอปพลิเคชัน 7 Delivery

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน
7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา และ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 385 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณา ทดสอบสมมติฐานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการศึกษา พบว่า 1) การตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านราคามีความสำคัญกับการตัดสินใจมากที่สุด รองลงมาคือด้านกระบวนการให้บริการ ด้านพนักงาน ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจใช้บริการสั่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน 7 Delivery ของผู้บริโภคในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. (2562). การจัดการการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2559). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน). (2565). รายงานประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565. จาก : https://www.cpall.co.th/wp-content/uploads/2022/04/CPALL-OR2021-TH_Hires.pdf

บุษรา บรรจงการ. (2558). หลักการตลาด. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : มีน เซอร์วิส

ซัพพลาย.

พัชรินทร์ โนรี. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่นในการสั่งอาหาร ของผู้บริโภคในเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และ การบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

วิทยา เลิศพนาสิน. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน แอพพลิเคชั่น AliExpress ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขา การ จัดการการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม).

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2563). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). e-Commerce. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565.

จาก : https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/terminology/%E0%B8%AB%E 0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1-E/252.aspx

อรดา รัชตานนท์, กชพรรณ สัลเลขนันท์, โชติพัฒน์ กลิ่นสุคนธ์, จิรวัฒน์ ภู่งาม และ มณฑล ศิริธนะ. (2563). ผลกระทบจากธุรกิจe-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2565. จาก : https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Economic onditions/AAA /ECommerce_paper.pdf

อุษา โบสถ์ทอง, ศิริพร ลักขณา, ณัทรัตน์ ทินวัง, รุจิรา มะรินทร์ และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2566). ปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอปพลิเคชัน 7-Delivery ของผู้ใช้บริการใน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 10(1), 185-204.

Cronbach, Lee J. 1970. Essential of Psychological Testing. 3rd. New York : Harper & Row.

Suzie Sangren. (2016). A simple solution to nagging questions about survery, sample size and validity. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565. จาก http://www.quirks.com/articles/a1999/ 19990101.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29