ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ:
Community Enterprises, Sustainability, Enterprises certified by The Standards for Community Productบทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยและอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนจำนวน 140 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน พบว่าปัจจัยการจัดทำบัญชี การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม และแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์กับความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยการจัดทำบัญชีมีความสัมพันธ์กับความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนมากที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน พบว่าปัจจัยการจัดทำบัญชี การบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม และแรงจูงใจ มีอิทธิพลทางบวกต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย โดยการจัดทำบัญชี มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนมากที่สุด ปัจจัยทั้งหมดสามารถทำนายความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดเชียงรายได้ร้อยละ 99.70
เขียนเป็นสมการถดถอยได้ ดังนี้ SUS = -0.009 + 0.331ACC1 + 0.216MAN2 + 0.210PAR3 + 0.245MOT4
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2557). แนวทางในการปฏิบัติงานโครงการพัฒนาวิสาหกิจชุมชม 2557. http://www.cad.go.th/
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2566). ข้อมูลวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. https://smce.doae.go.th/
ขวัญกมล ดอนขวา. (2556) การจัดการธุรกิจชุมชนบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SUT.res.2013.53
ชญานิษฐ แสนราชา, พุฒิสรรค เครือคํา, นคเรศ รังควัต, และกังสดาล กนกหงส์. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสาร ผลิตกรรมการเกษตร, 4(3), 62-74.
ชนนิกานต์ อินทรเผือก, ประเพศ ไกรจันทร์, และทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). รูปแบบการจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(2), 46-56.
ดุษฏี นาคเรือง, สุธิดา วัฒนยืนยง, และนุชนภา เลขาวิจิตร์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดยะลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 69-77.
ทัศน์ชัย ศิริวรรณ. 2564. การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชีววิถีตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). สุวีริยาสาส์น.
วัชรินทร์ อรรคศรีวร, และยุทธนา พรรคอนันต์. (2561). การศึกษาและพัฒนาการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการผลิตประมงและเกษตรอินทรีย์ บนพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดตราด (รายงานผลการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). Dกรุงเทพฯ : อักษรศิลป์การพิมพ์.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2566). รายชื่อผู้ที่ได้รับการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน
จังหวัดเชียงราย. http://otop.dss.go.th/index.php/standard/standardlist
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2554). ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน. http://www.sceb.doae.go.th/mywebSceb40/data/manual_smce.pdf,
Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation of work (2nd ed.). John Wiley & Sons.
Siriwan, T., J. Poung-Ngamchuen, N. Rungkawat, and P. Kruekum. (2020). Rationale Factors Affecting Participation in Managerial Administration of Chiwavitee Community Enterprise Group’s Members in Nam KianSub - district, Phu Phiang District, Nan Province. Journal of Environmental Treatment Techniques 8(4), 1611-1617.
Thompson, S. K. (2012). Sampling (3rd ed.). John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 จักรพันธ์ ชัยทัศน์, จริยา แก้วภักดี, วัชรี มนัสสนิท
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.