การบริหารจัดการตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ กรณี กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการและเปรียบเทียบการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ จำแนกตามปัจจัยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าราชการ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการที่เสริมสร้างคุณค่าให้กับองค์การ ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวน 230 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่า t-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่า ระดับการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพ เงินเดือน ระดับชั้นยศ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และกลุ่มงานในสังกัด มีการบริหารจัดการตามแนวทางการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไม่ต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงสามารถกำหนดแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกันตามบริบทเฉพาะขององค์การภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
References
กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. (2566). สารสนเทศประชาสัมพันธ์. สืบค้นจาก https://ccid4.ccib.go.th/
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2540). การปฏิรูประบบราชการสู่สภาพที่พึงปรารถนา: ทำอย่างไร ใครรับผิดชอบ. วารสารข้าราชการ, 42(2), 24-43.
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์ แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรพงษ์ แสงแก้ว และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วารสาร Modern Learning Development. 7(5), 179-192.
ศยากรณ์ มีแสงแก้ว. (2565). การจัดการภาครัฐแนวใหม่และหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลตำบล ในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16(1), 46-63.
สถิต นิยมญาติ และคณะ. (2562). การเปลี่ยนแปลงในองค์การภาครัฐ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2561. สืบค้นจากhttps://www.cpd.go.th/cpdth2560/images/document/ text_ yutasad_2.pdf. 6 กันยายน 2566
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560 – 2564.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุนารี สุกิจปาณีกิจ (2562). รูปแบบการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ที่ส่งผลต่อการจัดการบริการสาธารณะเชิงผลสัมฤทธิ์ของเทศบาล อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 12(5), 1157-1172.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์ และคณะ. (2560). การบริหารงานภาครัฐตามหลักทฤษฎีองค์การ. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 4(1), หน้า 52-70.
Belch, G.E., & Michael, A.B. (2005). Advertising and promotion: an integrated marketing communications perspective. Boston: McGraw-Hill.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.
Jafar. (2018). The Barrier To Implementation Of New Public Management Strategies In Iran’s Primary Health Care. Journal of Liaquat University of Medical and Health Sciences. 17(1), 8-17.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Maria. (2015). New Public Management in CYPRUS. (Thesis submmited for the degree of Doctorate in Social Sciences, University of Leicester).
Schermerhorn, J.R., Hunt, J.G. & Osborn, R.N. (1991). Managing. Organizational Behavior. 4 th ed. New York: John Willey and Sons
Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (2007). Consumer Behavior. New Jersey: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 อริศรา มีสติ, ชนิดา จิตตรุทธะ, เฉลิมพร เย็นเยือก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.