อิทธิพลของภาพลักษณ์ การรับรู้ ความรักที่มีต่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ที่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุกในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กานต์ กิจบำรุง -
  • ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์

คำสำคัญ:

ชานมไข่มุก, การซื้อซ้ำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุก และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของภาพลักษณ์ การรับรู้แบรนด์ การรับรู้คุณค่า การรับรู้คุณประโยชน์ ความรักที่มีต่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ กับการซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุกในจังหวัดกรุงเทพ มหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริโภคเครื่องดื่มชานมไข่มุกในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 378 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (non probability sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยเชิงพหุโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพเป็นพนักงานบริษัท รายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท จากการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาซื้อซ้ำ พบว่าปัจจัยด้านภาพลักษณ์ ไม่มีอิทธิพลต่อการกลับมาซื้อซ้ำของผู้บริโภคชานมไข่มุกในกรุงเทพ มหานคร ปัจจัยด้านการรับรู้คุณค่า การรับรู้คุณประโยชน์ การรับรู้แบรนด์ ความรักที่มีต่อแบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการกลับมาซื้อซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กัญชพร คูตระกูล, พัฒน์ธนะ บุญชู, และ อาจารย์ที่ปรึกษา. (2561). ความรักในตราสินค้าด้านความสัมพันธ์ ระหว่างความสนิทสนมต่อตราสินค้ากับความตั้งใจซื้อและการสื่อสารแบบปากต่อปากในด้านดีของตราสินค้า ประเภทรถยนต์ (No. 147318). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตรา อัศวภูษิตกุล. (2565). ปัจจัยด้านคุณค่าของตราสินค้าค่านิยมและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อต้นบอนไซของคนกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชญรรค์กร ทิพย์มณี. (2559). การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคใน อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

ธีรพัฒน์ เอี่ยมละออ. (2564). ปัจจัยด้านภาพลักษณ์ความไว้วางใจและคุณภาพสินค้าที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ ของผู้บริโภคสินค้ากูลิโกะในเขต กรุงเทพมหานคร (Doctoral dissertation) มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภัททกา สุนทรวิภาต. (2560). ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์และคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและ

ใช้บริการห้างเทสโก้โลตัสของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ.

ศรัฐ สิมศิริ, มานะ เอี่ยมบัว, ชนินทร์ กุลเศรษฐัญชลี, สธนวัชร์ ประกอบผล, วรรณิกา เกิดบาง, นรินทร สรวิทย์ศิรกุล

และรตนนภดล สมิตินันทน์. (2560). ปัจจัยด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ

ซื้อกรณีศึกษา: เขื่อนรัชชประภาอุทยานแห่งชาติเขาสกจังหวัดสุราษฏร์ธานี. Journal of Humanities

and Social Sciences Valaya Alongkorn, 12(1), 137-147.

สวิตา เดชวรสุทธิ. (2559). อิทธิพลของการรับรู้ตราสินค้าความสนใจในการส่งเสริมการขายและความพึงพอใจ

ในการบริการส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้า TNT. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

นาริสา. (2562). ตลาดชาไข่มุกยังไปได้! The Alley ตั้งเป้าปี 63 รายได้โตเท่าตัวเผยขาย 100,000 แก้วต่อเดือน Marketeer Online

Cohen, J. (2531). Multiple regression and correlation analysis. Statistical power analysis for the behavioral sciences, 407-465.

Kotler, P. (2546). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River, Prentice-Hall.

Liao, C., Lin, H. N., Luo, M. M., & Chea, S. (2017). Factors influencing online shoppers’ repurchase

intentions: The roles of satisfaction and regret. Information & Management, 54(5), 651-668.

Mathisuth, A. (2566). Marketing Mix Factors Influencing Consumers' Decisions to Purchase Bubble

Milk Tea in Lampang Province. Journal of Local Management and Development Pibulsongkram Rajabhat University, 3(1), 29-41.

Sullivan, Y. W., & Kim, D. J. (2561). Assessing the effects of consumers’ product evaluations and

trust on repurchase intention in e-commerce environments. International Journal of

Information Management, 39, 199-219.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25