การเปรียบเทียบการเกิดอาชญากรรมในเชิงพื้นที่จากแบบรายงานแผนประทุษกรรมกับชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
เปรียบเทียบแผนประทุษกรรม , แผนภาพแจกแจงควาถี่ , จังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การเดินทางมาประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากความมั่นใจในความปลอดภัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้ต้องหากระทำต่อชาวต่างชาติในจังหวัดภูเก็ตและกรุงเทพมหานคร ผ่านแผนประทุษกรรมที่บันทึกไว้ จำนวน 100 คดีต่อพื้นที่ ระหว่างปี 2560 – 2562 เพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นตัวแปรต่างๆ และนำมาจำแนกพร้อมระบุความถี่ของพฤติกรรมผ่านไดโคโตมัสคีย์ นำเสนอข้อมูลในแบบแผนภาพกระจายความถี่ โดยกำหนดความถี่มากกว่าร้อยละ 50 เป็นพฤติกรรมที่ผู้ต้องหาเลือกทำ ร้อยละ 10 ถึง 50 เป็นตัวแปรที่อาจจะมีความสัมพันธ์ และน้อยกว่าร้อยละ 10 คือตัวแปรที่ไม่สัมพันธ์กัน พบว่า ผู้ต้องหาก่อเหตุในคดีเกี่ยวกับทรัพย์สูงสุด และทรัพย์ที่ถูกลักไปมากที่สุดคือเงิน สถานที่ก่อเหตุเป็นสถานที่ปิด ในภูเก็ตมีการใช้รถจักรยานยนต์ก่อเหตุมากกว่า แต่ทั้งสองจังหวัดจะเลือกช่วงที่ชาวต่างชาติเผลอ เมื่อนำเสนอผ่านแผนภาพกระจายความถี่ จะเห็นตัวแปรที่สัมพันธ์กัน เพื่อการป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่รับผิดชอบควรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ด้านการตระหนักถึงความปลอดภัย เสริมการเฝ้าระวัง และบังคับใช้นโยบายการจัดให้มีที่เก็บของที่ปลอดภัยในสถานที่พักให้กับชาวต่างชาติ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2565). สถิติด้านสังคม. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.m-society.go.th/more_news.php?cid=588&page=11.
กองปราบปราม กองบัญชาการสอบสวนกลาง. (2555). 4dimensions-5 เทคนิคของคนร้าย. สืบค้น 30 เมษายน 2564, จาก http://www.ดีดี-นิติธรรม-การ์ดcom/imag/4dimensions-2.pdf
วารานัย ยุวนะเตมีย์. (2559). การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน
ประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2563). จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศปี 2557 – 2561. สืบค้น 22 กรกฎาคม 2566, จากhttps://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=
&esrc=s&source= web&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwjDyeuEi.
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2564). สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาในประเทศไทย.สืบค้น 30 เมษายน 2564, จาก https://www.immigration.go.th/?page_id=1564.
F.J. Gerard, K.C. Whitfield & K.D. Browne. (2020). Exploration of Crime-scene Characteristics in Juvenile Homicide in the French – speaking part of Belgium. Journal of Interpersonal Violence, Volume 35, 13-14.
Jonghan Sea & Eric Beauregard. (2021). An Analysis of Crime Scene Behavior in Korean Homicide. Journal of Interpersonal Violence, 36, 184-207
Sunghwan Kim, Louise Almond & Marie Eyre (2019). Profiling Korean Sex Crimes: Offender Characteristics and Crime Scence actions. Journal of Investigation Psychology Offender and Profiling, 17, 59-73
Thailand Institute of Justice. (2556). สถิติอาชญากรรมกับการเพิ่มขึ้นของคดีวิ่งราวทรัพย์.สืบค้น 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.tijthailand.org/what-we-do/detail.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 จิรภิญญา หวลกสินธุ์, วรธัช วิชชุวาณิชย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.