ปัจจัยในการวางแผนทางการเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดลำปางส่งผลต่อเงินออมหลังเกษียณ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการวางแผนทางการเงินที่ส่งผลต่อเงินออมหลังเกษียณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดลำปาง โดยมีเป้าหมายเฉพาะเพื่อ (1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการวางแผนทางการเงินกับระดับเงินออมหลังเกษียณ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการวางแผนทางการเงินระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรศาสตร์แตกต่างกัน และ (3) ศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินสำหรับเงินออมหลังเกษียณ การวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงปริมาณผ่านแบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่าง 230 คนที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในจังหวัดลำปาง คิดเป็นร้อยละ 48.63 ของประชากรทั้งหมด ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) และการทดสอบสมมติฐานด้วย T-test และ ANOVA ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริหารจัดการทางการเงินและพฤติกรรมการบริหารความเสี่ยงมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินออมหลังเกษียณ (p < 0.01) ในขณะที่ปัจจัยด้านการวางแผนการออมมีผลในระดับปานกลาง (p < 0.05) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ระบุว่า หน่วยงานรัฐควรจัดทำโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการเงินและการบริหารความเสี่ยง รวมถึงการส่งเสริมการออมในระยะยาวเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางการเงินของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหลังเกษียณ
References
กฤตภาส เลิศสงคราม. (2555). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของพนักงานบริษัท อสังหาริมทรัพย์. (สารนิพนธ์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐ เลิศมงคล. (2560). 4 ปัญหาที่ทำให้เงินเกษียณไม่เพียงพอ. https://www.finnomena.com/nat-lertmongkol/provident-fund-management/.
เต็มศิริ ศิริสมบัติ. (2549). การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ แพงบุดดี. (2562). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานธนาคารทหารไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ เศวตนันทน์ และไพศาล เล็กอุทัย. (2544). รายงานผลการวิจัย เรื่องหลักเศรษฐศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยรัตน์ กฤษณามระ พัชราวลัย ชัยปารี เมธินี วณิกกุล รัฐชัย ศีลาเจริญ และนาถฤดี ศุภกิจจารักษ์. (2554). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการออมของผู้ออมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 33(3), 93 - 120.
พรพรรณ วรสีหะ. (2561). รายงานผลการวิจัย เรื่อง ชีวิตภายหลังเกษียณ: ประสบการณ์ชีวิตผู้สูงอายุในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เพ็ญศรี เลิศเกียรติวิทยา. (2551). การเงินส่วยบุคคล. สำนักพิมพ์เอมพันธ์ จำกัด.
รวีพรรณ อุตรินทร์. (2562). รายงานผลการวิจัย เรื่อง การตัดสินใจออมเงินและลงทุนของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วรรณา ชุมพลรักษ์. (2561). รายงานผลการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออมเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วม โครงการส่งเสริมการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2553). ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน. https://www.set. or.th/th/education-research/education/setbook/text book/setbook/50-book.
.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ดารณี ใจวงค์, ปฐมชัย กรเลิศ, กรรณิการ์ จันทร์อินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.