การพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดกฤษฎากรณ์ ญาณธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนา เปรียบเทียบความคิดเห็น ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า สภาพการพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ปัญหา และอุปสรรค คือ มีการใช้ภาษาที่ยากแก่การเข้าใจ ขาดความต่อเนื่องและกลยุทธ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ขาดทักษะการพูดโน้มนาวจิตใจของผู้ฟัง คือ ขาดการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ดังนั้น ควรมีการใช้ภาษาที่มีความชัดเจนง่ายต่อการเข้าใจ ควรสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านการเผยแผ่ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ให้มีทักษะในการใช้ภาษาที่สามารถโน้มนาวจิตใจ ในการเผยแผ่ธรรมะนั้นต้องสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

พระครูปัญญาวชิรกาญจน์ (ศักดิ์ดา ปญฺญาวชิโร). (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดสุรพล นิปุโณ (มุททารัตน์). (2562). การพัฒนาพระนักเทศน์ต้นแบบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์(ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2527). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2541). ศาสนาเปรียบเทียบ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

เสฐียร พันธรังสี. (2542). ศาสนาเปรียบเทียบ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ผดุงวิทยาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-28