การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • พระครูสุทธิวรญาณ (ภักดี เขมธโร) วัดป่าญาณวิสุทธาวาส จังหวัดปราจีนบุรี

คำสำคัญ:

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระสงฆ์, ผู้ต้องขัง, เรือนจำ

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ต้องขัง ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า ผู้ต้องขังมีความคิดเห็นต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ภาพรวมอยู่ระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาและอุปสรรค คือเนื้อหาเข้าถึงยากไม่เหมาะกับความหลากหลายของผู้ต้องขัง ข้อเสนอแนะ คือทำความเข้าใจบริบทของเรือนจำเพิ่มมากขึ้น สอดแทรกหลักธรรมะที่สามารถนำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากออกจากเรือนจำ

References

ข้อมูลสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ เขต 2. (2562). สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์ทั่วประเทศ รท.102 (ก). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กองแผนงาน กรมราชทัณฑ์.

ชเนตตี ทินนาม. (2560). โครงการจากใจสู่ใจ: นวัตกรรมการสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในเพื่อปฏิรูปภายนอก. ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (พฤษภาคม 2558-เมษายน 2560): 1-2.

ดาวเรือง หงษา. (2556). กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.

ธนภัทร วางอภัย. (2560). การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อย สำหรับผู้ต้องขังที่มีแนวโน้มกระทำผิดซ้ำ
ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (ชูศรี). (2561). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูต สายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 335-336.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 18).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย). (2561). จิตตมนต์ ปัญญาบำบัด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กำลังใจ.

สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล. (2554). การปฏิบัติธรรมของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางคลองเปรม (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-28