ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ประชาชน, จริยธรรม, ผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นต่อจริยธรรมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ปัญหาและอุปสรรค คือ สังคมปัจจุบันมักแบ่งชนชั้นระหว่างคนจน คนรวย ทำให้มีการเลื่อมล้ำในสังคมมาก ไม่มีความเสมอภาคความเลื่อมล้ำทางฐานะ คนรวยชอบเอาเปรียบคนจน คนมีความรู้เอาเปรียบคนด้อยการศึกษามีการใช้อำนาจและปิดบังเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือการปิดหูปิดตาประชาชนกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการทุจริตบางมาตรายังมีช่องโหว่ทำให้เกิดการทะเลาะ แบ่งพรรค แบ่งพวกทำให้ประชาชนเอือมระอา ประชาชนเกิดการเบื่อหน่าย
References
จุฑามาส นาคปฐม. (2559). การบริหารการศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม เทศบาลเมืองชลบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
เปรม ติณสูลานนท์. (2555). ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ: จริยธรรมของการบริหารภาครัฐ เมื่อวันที่ 9 ก.ค.2555. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในการจัดงานครบรอบ 57 ปี คณะรัฐศาสตร์.
พิชัย โสวจัสสตากุล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของนายกเทศมนตรีกับความผูกพันต่อองค์การของ พนักงาน เทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.
พิศสมัย หมกทอง. (2554). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของสำนักงานเขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาราชวิทยาลัย.
สุรเมธ ทองด้วง. (2556). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด (สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
อรทัย ทวีระวงษ์. (2554). แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมในส่วนราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.