ทักษะการบริหารของผู้บริหารตามการรับรู้ของบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
ทักษะ, การบริหาร, การรับรู้บทคัดย่อ
บทความนี้เพื่อศึกษาทักษะการบริหาร เปรียบเทียบการรับรู้ของบุคลากร ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี พบว่าทักษะการบริหารของผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก บุคลากรที่มีข้อมูลส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานและรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีผลต่อการรับรู้โดยภาพรวมแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนบุคลากรที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ปัญหาและอุปสรรคพบว่าขาดการนำอุปกรณ์เก่ามาใช้ใหม่ เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นน้อย มีความสร้างสรรค์การปฏิบัติงานน้อย ดังนั้นควรจัดกิจกรรมพัฒนาอุปกรณ์เก่า จัดเวทีแสดงความคิดเห็นและเปิดโอกาสให้สร้างสรรค์งาน
References
ถวิล อรัญเวศ.(2560).การบริหารเป็นศาสตร์และศิลป์. สืบค้น 15 ธันวาคม 2560, จาก https://1th.me/m20J
พัชรา อุดมผล. (2550). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชรียา สุตา. (2555). การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการซื้อสินค้าผ่านQR Code ในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อภิญาณี พญาพิชัย. (2553). การรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการได้รับรองมาตรฐานร้านยาคุณภาพของร้านบู๊ทส (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อำนวย พลรักษา. (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Harold & Heinz. (1990). Essentials of Management. New York: McGraw-Hill.
Katz. (2007). Skills of an Effective Administration. Harvard Business Review, 33(1), 33-42.