พุทธาภิเษก: มิติแห่งการสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาบรรณ ปญฺญาธโร วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พระมหาเมธีวราภรณ์ (เชิดชัย อุดมสิทธิโชติ) วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พระครูสังฆรักษ์มานพ อคฺคมาณโว วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พุทธาภิเษก, การสาธารณสงเคราะห์, พระสงฆ์ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเชื่อของชาวพุทธไทยและพระสงฆ์กับงานสาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ที่จำเป็นต้องมีการพุทธาภิเษก ผลการศึกษาพบว่า เมื่อกล่าวถึงเหตุของความเชื่อจะเกิดได้ด้วย 2 สิ่งใหญ่ ๆ คือ 1. ความเชื่อที่เกิดจากความกลัวในเรื่องของสิ่งที่มองไม่เห็นหรือสิ่งอื่นๆที่ไม่สามารถคาดคะเนได้
2. ความเชื่อที่เกิดจากความหวังไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของฝนฟ้าอากาศเรื่องการทำมาหากินการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบัน, ส่วนพระสงฆ์กับการพุทธาภิเษก พบว่า การพุทธาภิเษกเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมที่สร้างศรัทธาของประชาชนไม่ว่าจะเป็นการบ้านเมืองสังคมหรือประชาชนซึ่งพระสงฆ์มีหน้าที่อธิบายให้ความรู้สมาธิจิตที่ควรทำในเมื่อเรานำพระที่ได้รับอธิษฐานจิตจากพระเกจิอาจารย์ นอกจากการสร้างวัดปัจจุบันในด้านสาธารณสงเคราะห์ พระสงฆ์ช่วยเหลือสังคมรองรับประชาชนที่เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการเผาศพในวัดการแจกสิ่งของแก่บุคคลผู้ติดไวรัส covid-19 หรือสิ่งต่างๆที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน พระสงฆ์ถือว่าเป็นผู้ที่เสียสละ เป็นศูนย์กลางต่อศรัทธาของประชาชน เพราะฉะนั้นแล้ว ในมิติของการสาธารณสงเคราะห์โดยมีการพุทธาภิเษกสามารถสร้างงาน สร้างศรัทธา สร้างทุนเพื่อต่อยอด ต่อการสร้างศาสนสถาน ต่อกิจการพระพุทธศาสนา

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2548). พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000.

เทพย์ สาริกบุตร. (2528). พุทธาภิเษกพิธีฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.

พระญาณวโรดม. (2538). ศาสนาต่างๆ (พิมพ์ครั้งที่ 5). เชียงใหม่ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (บาลี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ไทย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2539). ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก. (2554). เจ็ดตำนานพุทธมนต์และสิบสองตำนานพุทธมนต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา. (2529). น้ำบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนพานิช.

แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2548). วัฒนธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมดาเพลส.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23