การบริหารจัดการระบบริจาคอิเลคทรอนิกส์ของวัด ในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระจิรวัชร์ สุธมฺโม วัดกำแพง จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

การบริหารการจัดการ, ระบบบริจาคอิเลคทรอนิกส์, วัด

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการระบบบริจาคอิเลคทรอนิกส์ของวัด การวิจัยแบบผสานวิธี พบว่าระดับความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการระบบบริจาคอิเลคทรอนิกส์ของวัดภาพรวมอยู่ในระดับมาก เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ด้านอายุและบาลีต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนพระสงฆ์ที่มี พรรษา วุฒิการศึกษานักธรรมต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติปัญหา อุปสรรคพบว่า ขาดความพร้อมในการจัดฝึกอบรม การแบ่งความรับผิดชอบยังไม่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ ควรมีเจ้าหน้าที่หน่วยรับบริจาค, มีการมอบหมายงานให้ชัดเจนขึ้น

References

เฉลิมพล โสมอินทร์. (2546). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

พระธงชัย สุนฺทราจาโร (ธนวัฒนกุล). (2562). แนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน). (2539). การปกครองวัด คู่มือโครงการให้ความรู้แก่เจ้าอาวาส. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์การศาสนา.

ภาณุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย กรณีศึกษา FACEBOOK (วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มณีรัตน์ ตุลย์สถิตศักดิ์. (2561). ระบบบริจาคอิเลคทรอนิกส์ e-Donation. กรุงเทพฯ: กรมสรรพากร.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2545). กฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25