การพัฒนาเครือข่ายเยาวชนในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่าย ลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การสร้างเครือข่าย, ลดปัจจัยเสี่ยง, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้ทบทวนและวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และเก็บข้อมูลคุณภาพจากสังเกตอย่างมีส่วนร่วม เขียนเป็นองค์ความรู้จากข้อค้นพบเป็นความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า การจัดกิจกรรมของคณะสงฆ์วัดอินทาราม ภายใต้โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ยุวชนรักษ์ถิ่น พิทักษ์คลองกระทิง” ระหว่างวันที่ 17-18 มิถุนายน โดยมีนักเรียนระดับประถมศึกษา 2 โรง ในเขตชุมชนคลองกระทิงร่วมกิจกรรมโครงการ ผลการจัดกิจกรรมชี้ว่าการใช้พลังบวรเป็นฐานการพัฒนาทำให้เกิดเครือข่ายเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างชุมชน วัด โรงเรียน ซึ่งมีทั้งนักเรียน และชุมชนร่วมกัน ในการสร้างจิตสำนึกร่วมที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการสร้างความตระหนักและเกิดจิตสำนึกในการลดปัจจัยเสี่ยงโดยมีเครือข่ายเป็นการผสานพลังบวร เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชน ทำให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการปฏิบัติระหว่างกัน เกิดความเข็มแข็งของชุมชน ผ่านนักเรียน โดยมีครูและ โรงเรียนเป็นฐานของการควบคุมป้องกันร่วมกัน และมีวัด รวมทั้งชุมชนเป็นเครือข่ายในการกำกับปัจจัยเสี่ยงสร้างความเข้มแข็งทางจิต ความคิด พฤติกรรมและการกระทำนำไปสู่การลดละพฤติกรรมเสี่ยงจากสิ่งเสพติด เหล้า บุหรี่และอบายมุขต่าง ๆ ให้หมดไป
References
ธนัชชา รอดกันภัยและเสน่ห์ บุญกำเนิด. (2560). การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง : กรณีศึกษา นักศึกษา กศน. ตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 132-140.
พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (นนฺทิโย ประยูร). (2560). บทบาทการพัฒนาชุมชนของวัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2 ฉบับพิเศษ), 439-455.
_______. (2563, 29 พฤษภาคม). วัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม [สัมภาษณ์].
พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2561). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนต้นแบบวิถีพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อแดง วัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม. พระนครศรีอยุธยา: งานประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSD สัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ 17 และนานาชาติ ครั้งที่ 1 “คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน”. ระหว่างวันที่ 28-31 มกราคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.
พระมหากฤษฎา กิตติโสภโณ และคณะ. (2564). ถอดบทเรียนจากพื้นที่วิจัย : บวชใจอธิษฐานบารมี ลดละเลิกเหล้าบุรี่ ตลอดพรรษารณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาวะ ชุมชนบ้านคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม. นครปฐม: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2564 (เล่ม 2) คณะศาสนาเเละปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
_______. (2564). ยุวชนคุณธรรม : แนวทางลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาของชุมชนคลองกระทิง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. นครปฐม: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2564 (เล่ม 2) คณะศาสนาเเละปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระสุวิจักขณ์ กุลยศชยังกูร. (2560). การบูรณาการบทบาทของพระสงฆ์ร่วมกับเครือข่ายสังคมในการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมของชุมชนภาคอีสาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2 ฉบับพิเศษ), 1-14.
พระเอกลักษณ์ อชิตโต. (2563, 29 พฤษภาคม). วัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม [สัมภาษณ์].
ภิรมย์ศักดิ์ กิจพัฒนาสมบัติ และคณะ. (2561). ยุทธศาสตร์การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาสิ่งเสพติดอย่างยั่งยืนในเยาวชนของ กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 131-142.
มณีวรรณ เกตุบุญลือและพชร สันทัด. (2563). การจัดการเครือข่ายความปลอดภัยในการป้องกันปัญหายาเสพติดในชุมชนด้วยกองทุนแม่ของแผ่นดิน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 16(1), 116-133.
สายสุดา สุขแสง และคณะ. (2560). รูปแบบการเฝ้าระวังในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน กรณีศึกษา ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล และ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (พิเศษ), S230-242.
สุภัทรชัย สีสะใบ และคณะ. (2564). ถอดบทเรียนจากพื้นที่วิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลด ปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม.นครปฐม: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2564 (เล่ม 2) คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
อรรณพ กาวิกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อป้องกัน ยาเสพติด สำหรับเยาวชนของตำรวจชุมชนมวลชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 5. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 1-12.
เอกรัตน์ มหามนตรี. (2561). ความสำเร็จของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดในจังหวัดอ่างทอง. มหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 435-451.