ถอดบทเรียนจากพื้นที่วิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุภัทรชัย สีสะใบ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคม, ลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนา, ชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางและกลไกของการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะจง ในพื้นที่วิจัย และนำเสนอแบบความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงคราม ดำเนินการภายใต้แนวคิด พลังบวร “บ้าน-วัด-โรงเรียน-ชุมชน-รัฐ” เป็นกลไกขับเคลื่อนรณรงค์ร่วมกัน โดยมีพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำชุมชนทางความเชื่อ กรณีวัดอินทารามที่รณรงค์ผ่านกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา วันพระ วันศีลอุโบสถ และการเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านศีล 5 ใช้กิจกรรมและการรณรงค์ผ่านเกณฑ์ศีล และจริยธรรมทางศาสนา ร่วมมือกับชุมชนในการกำกับให้ดูแลลูกหลานใกล้ชิด รวมทั้งกลไกต่างๆ ทั้งภาครัฐและตำรวจในการกวดขันการขายเหล้าขายบุหรี่กับเยาวชนในสถานประกอบการ หน่วยงานสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในการให้ความรู้ในวัด สถานศึกษา และชุมชนในเรื่องพิษภัยของเหล้า บุหรี่ จากนั้นชุมชน (บ้าน-วัด-โรงเรียน) เข้ามาช่วยรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการตระหนักและเห็นความสำคัญในการให้ความรู้ เป้าหมายโดยรวม เป็นการสร้างความร่วมมือ เครือข่ายในการบริการจัดการชุมชนร่วมกันของพลัง “บวร” เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ตามแนวพระพุทธศาสนาในชุมชนคลองกระทิง จังหวัดสมุทรสงครามดังมีผลเชิงประจักษ์เป็นอัตราผู้ติดสารเสพติด บุหรี่ เหล้า มีสถิติน้อยมาก

References

กนกพร ด่านศักดิ์ชัยและคณะ. (2014). ผลของการให้บริการเลิกบุหรี่โดยคลินิกเลิกบุหรี่ ในร้านยามหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 9(3), 174.

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัยและกาญจนา แก้วเทพ. (2555). กระบวนการปรับแปลงความหมายของ “เหล้า” ในพิธีกรรมงานศพ. วารสารนิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(2), 34- 50.

เบญจพร บัวสำลี. (2561). กลยุทธ์ร้านเหล้ารอบรั้วมหาวิทยาลัยในการกระตุ้นอุปสงค์ของนักศึกษา. วารสาร สังคมภิวัฒน์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 9(3), 48-57.

ผ่องศรี ศรีมรกต และอิทธิพล พ่ออามาตย์. (2557). การสำรวจติดตามสภาพฝุ่นควันจากบุหรี่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้สูบบุหรี่ และผู้สัมผัสควันบุหรี่มือสองในโรงพยาบาล. วารสารการพยาบาล, 63(1), 48-54.

พจนา เปลี่ยนเกิด และพิชัย แสงชาญชัย. (2557). สวัสดีค่ะ...1413 สายด่วนเลิกเหล้า Hello...1413 Helpline for Stop Drink. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 91-96.

พระครูปริยัติสาทร. (2562). กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของพระสงฆ์สู่การเป็นต้นแบบปลอดบุหรี่ จังหวัดเลย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(2), 12-24.

พระครูพินิตปริยัติกิจ (สมบัติ วรธมฺโม) และคณะ. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติด ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 1-14.

พระครูพิศิษฏ์ประชานาถ (นนฺทิโย ประยูร). (2560). บทบาทการพัฒนาชุมชนของวัดอินทาราม อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2 ฉบับพิเศษ), 439-455.

พระปลัดระพิน พุทธิสาโร. (2561). บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนต้นแบบวิถีพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อแดง วัดอินทาราม จังหวัดสมุทรสงคราม. พระนครศรีอยุธยา: งานประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคม (CSDสัมพันธ์) ระดับชาติ ครั้งที่ 17 และนานาชาติ ครั้งที่ 1 “คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน”.

พระมหายุทธนา นรเชฏโฐ (ศิริวรรณ) และจุฑารัตน์ ทองอินจันทร์. (2561). แนวคิด ตัวชี้วัด องค์ประกอบบทเรียน และบูรณาการตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5”. วารสารชุมชนวิจัย, 12(2), 204-214.

พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) และพระมหานิกร ฐานุตฺตโร. (2562). การมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการเสริมสร้างสุขภาวะและเครือข่ายทางสังคม เพื่อลดเหล้าบุหรี่เชิงพุทธบูรณาการในจังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(4), 1-16.

รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. (2558). ผลของโปรแกรมป้องกันการเริ่มต้นสูบบุหรี่ที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานต่อการทดลองสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 27(3), 50-67.

วณิฎา ศิริวรสกุล และวัชรินทร์ อินทพรหม. (2561). รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายหมู่บ้านรักษาศีล 5 ให้ประสบความสำเร็จ.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29), 203-209.

วรานิษฐ์ ลำไยและเชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. (2561). รูปแบบการแข่งเรือปลอดเหล้าในจังหวัดน่าน. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 14(2), 66-76.

วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะและคณะ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัว .วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 19(1), 31-41.

วีรวรรณ เล็กสกุลไชย. (2007). พิษของควันบุหรี่. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์, 21(4), 287-292.

ศรีรัช ลอยสมุทร. (2561). การศึกษาสถานการณ์ การติดตามการเปลี่ยนแปลงหลังการบังคับใช้กฎหมาย และผลกระทบของร้านเหล้ารอบสถานศึกษา ในกรุงเทพมหานคร. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(3), 417-430.

ศิริพร จินดารัตน์ และคณะ. (2554). การพัฒนาแนวปฏิบัติในการสนับสนุนการเลิกบุหรี่ของผู้ใช้บริการคลิกนิกอดบุหรี่. วารสารการพยาบาล, 26(3), 64-77.

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อควบคุมยาสูบ. (2561). รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. สืบค้น 30 ธันวาคม 2563, จาก http://www.trc.or.th/th/

สมคิด นันต๊ะ และบัณฑิกา จารุมา. (2562). ช่องทางการสื่อสาร, งดเหล้าเข้าพร การวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสารโน้มน้าวใจในการณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของหน่วยงานรัฐในอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 97-106.

สมคิด พุ่มทุเรียนและคณะ. (2562). วิเคราะห์กิจกรรมเชิงพุทธตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 กับการหนุนเนื่องคุณค่านิยม 12 ประการ. วารสารบัณฑิตปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7 (1), 225-238.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25