โอกาสที่ต่างกัน: สถานภาพสามเณรในประเทศไทยและบังคลาเทศ
คำสำคัญ:
สถานภาพสามเณร, โอกาส, ประเทศไทย, ประเทศบังคลาเทศบทคัดย่อ
โอกาสของสามเณรในประเทศไทยมีมากในการศึกษาและปฏิบัติธรรมนั้นมีพร้อมสมบูรณ์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสี่ด้านไหนก็ตาม เมืองไทยเรา เป็นเมืองพุทธ คนนับถือมากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีวัดที่จะอยู่เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม และทุนการศึกษามีพร้อมทุกประการ แต่ด้วยว่าสังคมยั่วยุ เพื่อนที่เรียนรุ่นเดียวกันได้เข้าศึกษาในโรงเรียนหรือในระดับมหาวิทยาลัย ไม่ได้มาจากต่างบ้านต่างเมือง เหมือนสามเณรบังคลาเทศ แรงจูงใจในการศึกษากลายว่าน้อยกว่าสามเณรบังคลาเทศ ดังสำนวนไทยที่ว่า “ใกล้เกลือกินด่าง” ก็ว่าได้ ส่วนประเทศบังคลาเทศนั้นมีผู้นับถืออิสลามและศาสนาอื่นๆไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากร ดังนั้น ความสะดวกสบายในการเรียนพระพระพุทธศาสนาจึงลำบากมากกว่าประเทศไทยอยู่มาก ดังนั้น โอกาสของสามเณรบังคลาเทศมีน้อย ที่จะศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนาหรือต่อยอดด้วยการบวชเรียนนั้นเป็นไปได้ยากกว่าสามเณรประเทศไทยอยู่มาก แต่พระสงฆ์ที่ท่านมีความสามารถท่านจึงผลักดันในการส่งสามเณรเพื่อมาเรียนที่ประเทศไทยเรา โดยการส่งไปตามวัดต่างๆที่สามารถฝากให้เข้าเรียนได้ เมื่อสามเณรเรียนจนสำเร็จแล้ว จึงให้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาหรือ ระดับมหาวิทยาลัยไม่ว่า จะเป็น มจร.หรือ มมร. ก็ตามที่จะสะดวกต่อไป
References
_______. (2545). คู่มือการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
ธฤญเดชา ลิภา. (2557). สถาบันมหาบาลีวิชชาลัย. สืบค้น 13 มกราคม 2564, จากhttps://www.mahapali.com
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม.
พระสวัสดิ์ เฉิดฉิ้ม. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของการปรับตัวของสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โพสต์ทูเดย์. (2556). พระพุทธศาสนาและมุมมองของ...สถานทูตไทยในบังคลาเทศ. สืบค้น 13 มกราคม 2564, จาก https://www.posttoday.com/dhamma/198489
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นามมีบุ๊ค.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร). (2544). ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2544). พจนานุกรมคำศัพท์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร.
สุนทร บุญสถิต. (2543). สถานภาพ บทบาท และปัญหาของสามเณรในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.