การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามลักษณะทางพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ลักษณะทางพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามลักษณะทางพระพุทธศาสนา ผลการศึกษาพบว่าพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระศาสดาตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ การทำให้มนุษย์มีความสุขหรือการทำให้ชีวิตมีคุณภาพดีนั้น พระพุทธศาสนาเชื่อว่า สามารถกระทำได้ด้วยการปฏิบัติธรรม เป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาก็คือ การหาวิธีทำให้ชีวิตมีความสุข ซึ่งมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมจึงเป็นเรื่องกว้าง ๆ เป็นการพยายามนำธรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต การปฏิบัติตามหลักธรรมว่าด้วยศีลห้าเป็นการปฏิบัติที่เน้นด้านนอก หมายถึง การนำเอาข้อปฏิบัติห้าข้อมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิต การทำให้พฤติกรรมของตนเจริญงอกงามขึ้นในความดีด้วยการควบคุมกายและวาจาให้อยู่ในความเรียบร้อยดีงาม ซึ่งให้ผล 3 ประการ คือความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม การดำเนินชีวิตที่เป็นสุขและมุ่งความสุขทางจิตวิญญาณโดยทั่ว ๆ ไปการทำความดีหรือกรรมดีพระพุทธศาสนาเรียกว่า บุญ,“บุญเป็นชื่อของความสุข ชาวพุทธผู้ครองเรือนหรือคฤหัสถ์ผู้อยู่ใกล้พระศาสนา ซึ่งอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อพระศาสนาและประกอบกิจกรรมทางศาสนามากกว่าชาวพุทธทั่วไป เหล่าพุทธบริษัท 4 จะมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระศาสนาให้มั่นคง โดยปกป้องพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ รวมทั้งวัฒนธรรมให้คงไว้ตลอดไป
References
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). ศาสนาพุทธ. สืบค้น 1 ธันวาคม 2564, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธ
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมพิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้งส์ แมส โปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2549). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.