การบรรเทาความยากจนด้วยหลักอริยสัจ 4
คำสำคัญ:
ความยากจน, อริยสัจ 4บทคัดย่อ
ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาของประเทศไทยมาอย่างยาวนานและมีความเรื้อรังในหลายพื้นที่ แม้ตลอดช่วงการพัฒนาประเทศภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมาทั้ง 12 ฉบับ จะบรรจุเรื่องของการแก้ปัญหาความยากจนไว้ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนคนจนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 34.1 ล้านคน ในปี 2531 ลดลงเหลือเพียง 4.8 ล้านคน ในปี 2563 แต่เมื่อย้อนกลับไปดูข้อมูลเชิงลึกในปี 2562 กลับพบว่า จำนวนคนจนหลายมิติมีมากถึง 9.3 ล้านคน ยิ่งสะท้อนให้เห็นชัดว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการบรรเทาความยากจนในเชิงปริมาณ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในเชิงคุณภาพมากนัก ซึ่งสะท้อนผ่านความยากจนหลายมิติที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่ ความเป็นอยู่ ความมั่นคงทางการเงิน การมีสุขภาพที่ดี และการศึกษาที่ดี ยังมีปัญหาอยู่หลายตัวชี้วัด ซึ่งถือเป็นปัจจัยหรือสาเหตุสำคัญในการเข้าใจบริบทที่มากำหนดความยากจน ดังนั้น หลักพุทธธรรมว่าด้วยหลักอริยสัจ 4 ที่ประกอบด้วย ทุกข์ (สภาพความยากจน) สมุทัย (สาเหตุของการเกิดความยากจน) นิโรธ (เป้าหมายในการบรรเทาปัญหาความยากจน) และมรรค (แนวทางในการบรรเทาปัญหาความยากจน) จึงเป็นหลักธรรมที่สอดคล้องและเหมาะสมที่สุดในการนำมาประยุกต์ใช้กับการบรรเทาปัญหาความยากจนในปัจจุบัน
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=204
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 2 มีนาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid= 10857&filename=social
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ความยากจนหลายมิติของประเทศไทย ปี 2562. สืบค้น 2 มีนาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=10859&filename=social
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2563. สืบค้น 2 มีนาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php ?nid=11972&filename=social
United Nations. (2015). General Assembly, Transforming our world: the 2030 Agenda for Sustainable Development. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://sdgs.un.org/2030agenda