การสร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • พระนุชิต นาคเสโน วัดสันติธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • พระครูปริยัติวรเมธี (ทิพย์มณี) วัดสันติธรรมาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน, หลักสังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

แรงจูงใจของมนุษย์เกิดจากตัณหาคือความทะยานอยาก ความต้องการในที่นี้หมายถึง แรงจูงใจที่เป็นฝ่ายกุศล คือ ความทะยานอยากในสิ่งที่ดีทั้งต่อตนเองและองค์กร ซึ่งพระพุทธศาสนาวางหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ไว้หลายระดับ และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกระบวนการดำเนินชีวิตในทุกขั้นตอน ในการปฏิบัติงานก็มีหลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานต่างๆ โดยหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมสอดคล้องคือ หลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นธรรมแห่งการสงเคราะห์ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เป็นหลักการครองใจคนให้ประสานใจและเหนี่ยวรั้งใจคนให้เป็นอันเดียวกัน ได้แบ่งออกเป็นสองอย่างประการแรก แรงจูงใจภายนอก คือ ผลที่การทำงาน เช่น ค่าจ้าง สวัสดิการ รางวัลหรือเกียรติยศ การรับการยกย่องรวมไปถึงมนุษย์สัมพันธ์ อีกอย่างหนึ่ง แรงจูงใจภายใน อันได้แก่ การให้เกียรติกัน รวมไปถึงการวางตน วางงานให้เกิดความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ได้รับเพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

กัญญนันทน์ ภัทร์สรสิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร: กรณีศึกษาสำหรับสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาศึกษาทั่วไปคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.

กิตติวัฒน์ ถมยา. (2553). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายกลยุทธ์และวางแผน สายออกบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

ณัฎิยา ชูถึง. (2555). แรงจูงใจ: มิติไม่ใหม่ของการส่งเสริมการผลิตผลงานวิชาการ. สืบค้น 21 ตุลาคม 2563, จาก http://human.skru.ac.th/research/datafile/km4.pdf

ตุลา มหาผสุธานนท์. (2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นรา สมประสงค์. (2554). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฤทัยทิพย์ โพธิ์อ่อน. (2550). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท วิริยะซัพพราย จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ลักขณา สริวัฒน์. (2545). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วิภาดา คุปตานนท์. (2545). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคเคชั่น อินโดไซน่า.

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2547). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิริอร วิชชาวุธ. (2555). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหมครีเอทีฟกรุ๊ป.

Domjan, M. (1996). The Principles of Learning and Behavior Belmont. California: Thomson Wadsworth.

Kidd, J. R. (1973). How Adults Learn. New York: Association Press.

Lovell, R. B. (1980). Adult Learning. New York: Halsted Press Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23