นวัตกรรมกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในยุค NEW NORMAL

ผู้แต่ง

  • ภัคชุดา พูนสุวรรณ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการท่องเที่ยว, การพัฒนาการท่องเที่ยว, ยุควิถีใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้ นำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยนวัตกรรมการท่องเที่ยว โดยมีเทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Travel Tech) เข้ามาปฏิวัติด้านการท่องเที่ยวในยุค New Normal ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวมีความสะดวกสบาย นักท่องเที่ยวสามารถจัดการวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง ทั้งยังสร้างประสบการณ์ ความพึงพอใจให้กับนักท่องเที่ยว ตลอดจนการกลับมาใช้ซ้ำอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ออกแบบโมเดลการบูรณาการในการพัฒนาการท่องเที่ยวในยุค New Normal ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในปัจจุบัน และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564 - 2565) ภายใต้วิสัยทัศน์ เข้มแข็งจากภายใน ฟื้นตัวอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นจุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของภูมิภาค

ดังนั้น การพัฒนาการท่องเที่ยวต้องอาศัยการบูรณาการของทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ภาคประชาชน/ชุมชน และนักท่องเที่ยว โดยการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ควรมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นให้เป็นการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ คือทำให้สถานที่น่าอยู่ขึ้นทั้งเจ้าของบ้านและผู้มาเยือน โดยเป็นการท่องเที่ยวที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุด อีกทั้งนวัตกรรมการท่องเที่ยวจะเชื่อมคุณค่าและความเปลี่ยนแปลงไว้ด้วยกัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564 - 2565). สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://anyflip.com/zzfck/gopk/

คณาธิป ไกยชน. (2565). นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยววิถีใหม่. สืบค้น 30 มีนาคม 2565,จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/594298

ชูศักดิ์ อินทนต์. (2562). รูปแบบและกระบวนการในการบริหารจัดการนวัตกรรมโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยว. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการสาธารณะ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นาวา มาสวนจิก และคณะ. (2562). การจัดการนวัตกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุพชาติ ดวงดี. (2560). แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ อย่างยั่งยืนในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

ปิยะพร ศรีสมุทร. (2558). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย - ท่าขี้เหล็ก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปรัชญากรณ์ ไชยคช. (2561). อะไรคือการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ?. สืบค้น 30 มีนาคม 2565, จาก https://www.th.thairt.org/blog/a5adb67e34c

ปรเมษฐ์ ดำชู. (2563). ปัจจัยที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 15(1), 87-100.

พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ราชบัณฑิตยสภา. (2563). ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์คำว่า “New normal”.สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://royalsociety.go.th/%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b1%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a8%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%97%e0%b9%8c-new-normal/

สุนิสา ขะสุวรรณ. (2564). แนวทางการพัฒนาและการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดสตูลในฐานะเมืองรอง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). COVID-19 พลิกวิกฤติเป็นโอกาสในการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล. สืบค้น 30 มีนาคม 2565, จาก https://www.depa.or.th/th/article-view/article6-2563

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). โครงการค่าใช้จ่ายสำหรับสำรวจทัศคติ ความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์). สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/ download/article/article_20220301113326.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://shorturl.asia/bM9PO

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2564). Innovation Catalog Travel Tech. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://regional.nia.or.th/th/content/category/detail/id/6/iid/58

Jitta Wealth. (2564). ลงทุนนำเทรนด์ ‘เทคท่องเที่ยว’ บอกลา Covid-19. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://blog.jittawealth.com/post/Thematic-Travel-Tech-Launch-Recap-Live

Moisey, R.N., & McCool, S.F. (2001). Tourism Recreation and Sustainability: Linking Culture and the Environment. Cromwell Press, Trowbridge: UK.

Roger, M. (1998). The definition and measurement of innovation. Retrieved March 30, 2022, from https://melbourneinstitute.unimelb.edu.au/downloads/working_paper_series/wp1998n10.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-23