พุทธพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
คำสำคัญ:
พุทธธรรม, พลเมือง, ประชาธิปไตยบทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการนำเสนอแนวคิดพุทธพลเมืองกับการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย การสร้างพลเมืองมีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตยจะประสบความสำเร็จได้ไม่ใช่เพียงแต่มีรัฐธรรมนูญที่ดี แต่ประชาชนจะต้องเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยด้วย ในประเทศไทยได้มีความพยายามจากหลายฝ่ายในการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืน แต่ในความเป็นจริงยังมีปัญหาและข้อจำกัดในการขับเคลื่อนผลักดัน เนื่องจากกระบวนการสร้างพลเมืองของไทยตั้งอยู่บนฐานคิดแบบปรัชญาตะวันตกที่ให้คุณค่ามนุษย์แบบปัจจเจกชนนิยมเป็นฐานในการขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก การผลักดันขับเคลื่อนการสร้างพลเมืองภายใต้หลักคิดดังกล่าวไม่ลงตัวกับสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยที่ตั้งอยู่บนฐานปรัชญาหลักพระพุทธศาสนาและจิตนิยมสร้างพลเมืองบนพื้นฐานปรัชญาหลักพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้สังคมในการสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย
References
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2555). ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). พลเมืองเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิภาษา.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: นานมีบุคศ์พับลิชั่นส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). การพัฒนาความเป็นพลเมืองภายใต้การปกครองระบบประชาธิปไตย. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Smith, W., & Anthon, C. (1857). A School Dictionary of Greek and Roman Antiquities. NewYork: Harper & Brothers.