วิเคราะห์พระมหากษัตริย์ที่ปรากฎในพระไตรปิฎก

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์พูลสวัสดิ์ ฐิตสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระพุฒิพันธุ์ จนฺทวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระณพฤทธ คุณวีโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กษัตริย์, ผู้ปกครอง, พระไตรปิฎก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอความสำคัญของกษัตริย์ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำพาประชาชนและประเทศชาติไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อม หากได้กษัตริย์ที่ดีมีศีลธรรม มีความรู้ความสามารถ ก็จะนำพาประชาชนและประเทศชาติไปสู่ความผาสุก หน้าที่ของกษัตริย์ ในการควบคุมสังคม ป้องกันและปราบปรามบุคคลที่อาจจะเป็นภัยต่อสังคม เช่น พวกขโมย รวมถึงหน้าที่ช่วยเหลือราษฎรไม่ให้ขาดแคลนในด้านอาหารการกิน การใช้อำนาจขึ้นอยู่กับกษัตริย์นั้นจะใช้อำนาจไปในทิศทางใด โดยเป้าหมายของการใช้อำนาจของผู้ปกครองสามารถสรุปได้ 2 ประการ คือ 1) การใช้อำนาจเพื่อส่วนตัว 2) การใช้อำนาจเพื่อส่วนรวม เพื่อประโยชน์สาธารณะและแก่ประชาชนโดยทั่วไป นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับกษัตริย์ในพระไตรปิฎก ยังพบว่ามีกษัตริย์หลายพระองค์ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และปรากฎในพระไตรปิฎก แต่ที่โดดเด่นควรนำมาเป็นตัวอย่างได้แก่ 1) พระเจ้าพิมพิสาร 2) พระเจ้าอโศกมหาราช 3) พระเจ้าโคปาละ

References

ประคอง มาโต. (2563). พระสงฆ์กับการเมืองไทย. Academic Journal of Political Science and Public Administration, 2(3), 43-49.

พระครูปลัดเอกพัน สิริวณฺณเมธี. (2564). เหตุปัจจัยแห่งความเสื่อมในปาสาทิกสูตร. เสฏฐวิทย์ปริทัศน์, 1(2), 49-59.

พระครูพิพัฒน์สุตคุณ (ธัญพิสิษฐ์ เตชธโร) และคณะ. (2565). รัฐศาสตร์กับวัฒนธรรม. Journal of Modern Learning Development, 8(3), 365-374.

พระครูพิสัยปริยัติกิจ (แก่น อคฺควณฺโณ). (2562). พระมหากษัตริย์กับพระพุทธศาสนาในประวัติศาสตร์. Journal of Graduate Review Nakhon Sawan Buddhist College, 7(2.2), 215-226.

พระครูอุปกิตปริยัติโสภณ (สุข อุปการะ). (2565). พระพุทธศาสนากับการเมือง. นิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 8(1), 1-17.

พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). (2534). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มนตรี ธีรธรรมพิพัฒน์ และประเวศ อินทองปาน. (2564). แนวคิดเรื่องผู้ปกครองแบบธรรมราชาในพุทธปรัชญาเถรวาทกับการแก้ปัญหาทางการเมือง. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 4(1), 65-83.

มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วันชัย พลเมืองดี. (2544). พุทธศิลป์. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2545). ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01