การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • อรนันท์ กลันทปุระ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปฏิภาณ ชัยเสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ประชาชน, การปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น และเพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมชองประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจ์ซี่และมอร์แกน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และทำการสุ่มอย่างง่ายโดยโปรแกรมสุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการศึกษาพบว่า (1) การมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นของประชาชน อยู่ในระดับปานกลางทั้งโดยรวมและรายด้าน ด้านที่มีส่วนร่วมสูงที่สุดคือ ด้านการปฏิบัติงาน ส่วนด้านที่มีส่วนร่วมต่ำสุดคือ ด้านการติดตามและตรวจสอบการทำงาน (2) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามเพศ ศาสนา และระดับการศึกษาต่างกัน มีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น แตกต่างกัน

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2562). ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กุสุมา เขียวเพกา. 2560. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บดินทร์ เดเบาะ จาโก และอาหวัง ล่านุ้ย. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บัณฑูร ปิ่นสุวรรณ. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น (การจัดการขยะ) กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุต มาลาแวจัทร์ และวราภรณ์ เทพสัมฤทธิ์พร. (2559). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 12(1), 103-122.

ถวิล บุรีกุล. (2552). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประเดิม แพทย์รังสี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: ศึกษากรณี เทศบาลตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ปัณณทัต บนขุนทด และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 1(6), 209-222.

พงศ์กวี คนไว. (2556). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนจังหวัดมุกดาหาร. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.nstda.or.th.

พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มินตรา ศาลางาม และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาลตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 8/2561 “รัฐประศาสนศาสตร์ ไทย 4.0 :ประชารัฐ นวัตกรรม และความท้าย” 105-119.

พระมหาทัศพงษ์ ชยเมธี (กลิ่นศรีสุข) และคณะ (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาจุฬาขอนแก่น, 8(3), 125-135.

ศุภรดา งบสูงเนิน. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลปะตงอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารเกษมบัณฑิต, 20 (ฉบับพิเศษ), 129-140.

สัมพันธ์ ใจกว้าง. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและประชาชนในการพัฒนาแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลปล้อง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.parliament.go.th/Library.

อภิชาต สถิตนิรามัย. (2555). รัฐธรรมนูญ การกระจายอำนาจ และการมีสวนร่วมของประชาชน. เชียงใหม่: แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดีสถาบันศึกษานโยบาย สาธารณะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Cohen, J. M. & Uphoff, N.T (1980). Participation’s Place in Rural Develop: Seeking clarity Through Specificity. World Development, 8(3), 213-235.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03