การประยุกต์หลักสัปปุริสธรรมในการวางนโยบายผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุมณฑา สุภาวิมล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักสัปปุริสธรรม, นโยบาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนผ่านสังคมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอันส่งผลต่อเศรษฐกิจ เชื่อมโยงถึงการดำเนินชีวิตประจำวัน สภาพแวดล้อม รายได้และอาชีพ ซึ่งภาครัฐต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตเป็นสำคัญ ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุให้มีคุณภาพ กำหนดมาตรการรับมือแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นนโยบายหรือแแผนดำเนินงานที่เกี่ยวกับระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ การพัฒนาระบบสวัสดิการ หลักประกันสุขภาพ ระบบบริการสาธารณสุข ตลอดจนส่งเสริมการทำงานและหารายได้ของผู้สูงอายุ รวมทั้งการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อรองรับกับสังคมสูงวัยก่อให้เกิดการบูรณาการด้วยการนำหลักสัปปุริสธรรม ประกอบด้วย (1) ธัมมัญญุตา การสำรวจปัญหาความต้องการ (2) อัตถัญญุตา ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำนโยบายด้านผู้สูงอายุไปปฏิบัติ (3) อัตตัญญุตา การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติงาน (4) มัตตัญญุตา ความเหมาะสมการจัดสรรงบประมาณ (5) กาลัญญุตา ลำดับความสำคัญการดำเนินงานผู้สูงอายุ (6) ปริสัญญุตา ศึกษาคนในบริบทพื้นที่ และ (7) ปุคคลัญญุตา เลือกบุคลากรรับผิดชอบงานที่เหมาะสม ผนวกกับแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานสามารถดำเนินงานอย่างมีหลักการและปฏิบัติงานตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง ซึ่งประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งทางร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งนี้ตัวบุคคลก็ต้องมีปรับปรุงการดำเนินชีวิตตนเองให้สอดคล้องและรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้สูงวัยสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม มีสุขภาพแข็งแรง ตลอดจนช่วยลดปัญหาของผู้สูงอายุเอง

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2562). เติมรู้เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). กะเทาะโมเดลสูงวัยแดนกิมจิสู่นโยบายผู้สูงอายุไทย. สืบค้น 10กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/advertorials/health.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ.วารสารรูสมิแล, 38(1), 5-28.

ปารณีย์ เบญจพฤกษชาติ. (2564). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษาไลน์กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เพ็ญณี (กันตะวงษ์) แนรอท และณรงค์ เกียรติคุณวงศ์. (2562). การดูแลผู้สูงอายุบทเรียนจากเมืองโกเบ. ขอนแก่น: พิมพ์ถูกขอนแก่น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). พุทธธรรม : ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

ชัชฎา กำลังแพทย์. (2560). เรียนรู้นโยบายเพื่อผู้สูงวัยของสิงคโปร์. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117430

สำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่น. (2019). วิวัฒนาการระบ ประกันสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/502424/502424.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03