การพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธร ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ธรรมสอน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, การบริหารเชิงพุทธ, ผู้บริหารสถานีตำรวจภูธร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงาน เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาศักยภาพการบริหารงาน และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 410 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสมการโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ปัจจัยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานี พบว่า 1) การบริหารจัดการองค์กร และหลักเวสารัชชกรณธรรม มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพการบริหารเชิงพุทธของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ โดยการบริหารของผู้บริหารสถานีตำรวจภูธร มี 6 ด้าน พัฒนาโดยนำหลักการบริหารเชิงพุทธ คือ “หลักเวสารัชชกรณธรรม” ประกอบด้วย ศรัทธา (ศรัทธาในอาชีพ) ศีล (พฤติกรรม) พาหุสัจจะ (การศึกษา) วิริยารัมภะ (ความเพียร) และ ปัญญา (องค์ความรู้) ดังนั้นหลักเวสารัชชกรณธรรมจะเป็นหลักคุ้มครองให้ผู้บริหารสถานีตำรวจภูธรบริหารจัดการภารกิจทั้ง 6 ด้าน บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

กองบัญชาการศึกษา. (2561). ยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

ชลิดา ลิ้นจี่. (2563). การจัดการที่มีผลกระทบต่อกระบวนการบริหารงานที่มีคุณภาพของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะการจัดการ, (4)3, 594-595.

ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่. (2564). เกี่ยวกับหน่วยงาน. สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.chiangmaipolice.go.th/index.php?page=about3.

พระมหาบุญรอด อมรทตฺโต. (2560). การส่งเสริมจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดระยอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-ฉบับพิเศษ), 281-282.

พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ก. 2 ตุลาคม 2545.

ภูษิต วิเศษคามินทร์ (พ.ต.อ.). (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี พรมวัน. (2563). รูปแบบประสิทธิผลการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

GURU.Sanook.com. (2564). ประวัติกรมตำรวจ หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สืบค้น 13 ตุลาคม 2565, จาก https://guru.sanook.com/5177/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-01