การบูรณาการหลักพุทธธรรมาภิบาลเพื่อบริหารองค์กรบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เสกสรร มนทิราภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรมาภิบาล, การบริหารองค์กรบริษัทมหาชน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการบริหารองค์กร 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารองค์กร และ 3. นำเสนอรูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมมาภิบาลเพื่อบริหารองค์กรบริษัท เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 307 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารองค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.39) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารองค์กร พบว่า กระบวนการบริหาร ด้านการพัฒนาปรับปรุง และ ด้านการปฏิบัติ สำหรับความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย ด้านการดำเนินงานที่นอกเหนือการบริจาค และด้านองค์กรรับผิดชอบผลกระทบทางสังคม และ หลักพุทธธรรมาภิบาล: หลักสังคหวัตถุ 4 ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา ด้านทาน และด้านสมานัตตตา และ 3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมมาภิบาลเพื่อบริหารองค์กร พบว่า หลักธรรม คือ หลักพุทธธรรมาภิบาล: หลักสังคหวัตถุ 4 นำมาบูรณาการกับหลักการ ประกอบด้วย กระบวนการบริหาร และความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการบริหารงาน เพื่อนำไปสู่การบริหารองค์กรบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

ณัฏฐ์ รุ่งวงษ์. (2564). การบริหารจัดการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามหลักธรรมาภิบาล ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีรวัฒน์ เสสปุญฺโญ (สันยศติทัศน์).(2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริพร ไชยชนะ. (2560). การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมค่านิยมของการประปานครหลวง (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุกานดา เกิดชัย.(2561). ธรรมาภิบาลกับคุณภาพการให้บริการตามทัศนคติของลูกค้าธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง สาขาในเขตอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 97-105.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). รายงานความก้าวหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย พ.ศ. 2559-2563. กรุงเทพฯ: ซีดี มีเดีย ไกด์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). ธรรมนูญชีวิต พิมพ์ครั้งที่ 141. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).(2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ: นินิธรรมการพิมพ์.

บุญทัน ดอกไธสง. (2555). รัฐประศาสนศาสตร์สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. (2556) ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เสกศักดิ์ จำเริญวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคมกับผลกระทบ ที่มีต่อมูลค่าร่วมของกิจการ: กรณีประเทศไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 21(2), 150-175.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, (2564). รายชื่อ THAILAND SUSTAINABILITY INVESTMENT (THSI) ปีล่าสุด. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก : https://www.setsustainability.com/libraries/710/item/thailandsustainability-investment-lists

เอสซีจี. (2560). คู่มือบรรษัทภิบาลเอสซีจี 2560. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.scg.com/pdf/th/CG-Principle.pdf

Aminu, A. H., et al., (2015). Corporate Social Responsibility: A Review on Definitions, Core Characteristics and Theoretical Perspectives Mediterranean Journal of Social Sciences, 6(4), 85-87.

Edwards, W. D. (1995). Out the Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study.

Taro, Y. (1973). Statistic: An Introductory Analysis 3 rd. ed., Tokyo: Harper International Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03