การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจ ของกระทรวงอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • สมชัย นันทาภิรัตน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การบริหารจัดการตามพันธกิจ, กระทรวงอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

พบว่า 1. การบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ รองลงมาคือ บูรณาการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง ส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการตามพันธกิจ พบว่า ปัจจัยภายในองค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร และหลักอิทธิบาท 4 สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร้อยละ 50.0, 50.2, 69.0 ตามลำดับ (Adjust R2=0.500, 0.502, 0.690) 3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม 4 ด้านคือ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม การส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บูรณาการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวง โดยมีการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 เพื่อการบริหารจัดการตามพันธกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้สำเร็จลุล่วง ได้แก่ ฉันทะ: รักงาน วิริยะ: สู้งาน จิตตะ: ใส่ใจงาน วิมังสา: ทำงานด้วยปัญญา

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). พัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามบริบทโลก. สืบค้น 23 กุมภาพันธ์2565, จาก https://shorturl.asia/hWpLv

กรรณิการ์ สิทธิชัย. (2561). การจัดการองค์กรตามแนวคิด 7s ของ McKinsey ที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรม : กรณีศึกษาองค์กรที่ได้รางวัลองค์กรนวัตกรรมยอดเยี่ยม. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 11(3), 1419-1435.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกาแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปนัดดา รักษาแก้ว. (2564). พุทธนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชญาณี กาหลง. (2563). แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย. 11(1) : 149-162

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิศิษฎ์สร เอกกิตตินันท์. (2563). การพัฒนาการนำฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาปรับใช้เพื่อการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของกรมทางหลวง (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rded, New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-03