การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, หลักอริยสัจ 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา ก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบำรุงรวิวรรณวิทยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ของเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 มีค่าเท่ากับ 0.51 แสดงว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการ ความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เพราะมีคะแนนทดสอบเพิ่มขึ้น 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักอริยสัจ 4 พบว่า แบบทดสอบก่อนเรียนโดยรวม คะแนน 453 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.78 คิดเป็นร้อยละ 50.00 แบบทดสอบหลังเรียนโดยรวม คะแนน 684 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 23.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.61 คิดเป็นร้อยละ 76.00 ความต่างของผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียน โดยรวมต่างกัน 231 คะแนน ค่าเฉลี่ยที่ 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 1.73 คิดเป็นร้อยละ 25.66 การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยแบบทดสอบจำนวน 30 ข้อ ดำเนินการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ก่อนและหลังการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูง ก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การจัดสาระการเรียนรูพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
การจัดการศึกษานอกระบบ. (2551). คู่มือการดำเนินงานหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต (วิทยานิพนธ์คณะมนุษย์ศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระมหาประเสริฐ ชาตเมธี. (2561). การใช้วิธีสอนแบบอริยสัจสี่ ในสาระพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหลักร้อย จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญา พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระยูง ชยานนฺโท. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามหลักอริยสัจ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบวรธรรมประยุตวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรอนงค์ ศรีชัยสุวรรณ. (2558). ผลการใช้ชุดการสอนแบบอริยสัจสี่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.