การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวของบริษัทท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิตกร วิจารณรงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมาน งามสนิท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการหลักพุทธธรรม, ประสิทธิผล, การบริหารจัดการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวของบริษัทท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของประสิทธิผลการจัดการบริษัทท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.19) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้านได้แก่ การพัฒนา รองลงมาคือ ความพึงพอใจ และอยู่ในระดับมาก 3 ด้านได้แก่ การปรับเปลี่ยน การผลิตหรือผลิตภัณฑ์ และประสิทธิภาพ ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยว พบว่า การจัดการของบริษัทท่องเที่ยว และหลักสัปปุริสธรรม ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวได้ร้อยละ 58.9 และ 74.6 (Adj. R2=0.589, 0.746) 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยว คือ 1) หลักธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) และหลักมัตตัญญุตา (รู้ประมาณ) บูรณาการเข้ากับ “การผลิตหรือผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยว” 2) หลักอัตตัญญุตา (รู้ตน) บูรณาการเข้ากับ “ประสิทธิภาพ (การใช้ทรัพยากร) ของบริษัทท่องเที่ยว” 3) หลักอัตถัญญูตา (รู้ผล) และหลักปุคคลัญญุตา (รู้บุคคล) บูรณาการเข้ากับ “การสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว” 4) หลักกาลัญญุตา (รู้กาล) บูรณาการเข้ากับ “การปรับเปลี่ยนของบริษัทท่องเที่ยว” 5) หลักปริสัญญุตา (รู้ชุมชน) บูรณาการเข้ากับ “การพัฒนาของบริษัทท่องเที่ยว”  

References

ถนัด ไชยพันธ์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ สุเทวเมธี). (2560). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์วัลลภ ฐิตสํวโร. (2558). การบริหารจัดการด้านสาธารณูปการตามหลักพุทธธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2558). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภานุกฤษฏิ์ พิศิษฎ์สกุลชัย. (2560). วิเคราะห์รูปแบบการบริหารตามหลัก TQM เชิงพุทธ(วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุทธศักดิ์ สุภสร, อัปเดตเรื่องราวความเป็นไปและภาพอนาคตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. สืบค้น 28 ตุลาคม 2565. จาก : https://www.workpointoday.com/tat-interview-tourism-future/.

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย. ไตรมาสที่ 4 ปี 2562. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

สุวรรณ์ แก้วนะ. (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01