การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้ต้องขังในเรือนจำ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • วราพร องคะลอย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, หลักพุทธธรรม, การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้ต้องขัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.71) และเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย รองลงมาคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา และการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม ตามลำดับ 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดนนทบุรี พบว่า สภาพแวดล้อมในเรือนจำ กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขัง หลักไตรสิกขา พบว่ามีอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. รูปแบบการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง ประกอบด้วย การพัฒนาคุณภาพชีวิต  4 ด้าน คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา ซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำดังกล่าวนำมาบูรณาการกับ “หลักไตรสิกขา” 3 ด้านคือ 1) ศีล (ด้านพฤติกรรม) ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบทั้งกาย วาจา ใจ 2) สมาธิ (ด้านจิตใจ) ปฏิบัติตามหลักศาสนา ฝึกสมาธิ ฟังธรรม ไหว้พระ สวดมนต์ 3) ปัญญา (ด้านองค์ความรู้) แสวงหาความรู้ทั้งวิชาชีพ และวิชาชีวิต

References

ชัยวัฒน์ รัตนวงศ์ และคณะ. (2555). การพัฒนากิจกรรมสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ: กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(ฉบับพิเศษ), 95-102.

ฐานเศรษฐกิจ. (2554). เปิดสถิติผู้ต้องขังเรือนจำไทยเกือบ 4 แสนรายล้นเกินกำลังเจ้าหน้าที่. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https:/www.thansettakij.com/content/normal_ news/452659.

ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา. (2562). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสมนึก ธีรปญฺโญ (กลับน้อม). (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนาสมรรถนะต้นแบบข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภทรพร ยุทธาภรณ์พินิจ. (2559). การสังเคราะห์งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ตามแนวคิดของ ป.อ. ปยุตโต. วารสารสังคมศาสตร์, 5(2), 55–69.

ภัทรวรรณ ทองใหญ่. (2561). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รณกรณ์ เอกฉันท์. (2558). การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ต้องขังในเรือนจำไทย. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(3), 297-298.

เรือนจำจังหวัดนนทบุรี. (2564). เกี่ยวกับเรือนจำ. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.correct.go.th/popnont/?page_id=30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01