การบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดียโดยบูรณาการหลักกาลามสูตรของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ผู้แต่ง

  • ธำรงเกียรติ อุทัยสาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บุญทัน ดอกไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารข้อมูลข่าวสาร, โซเชียลมีเดีย, การบูรณาการหลักกาลามสูตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดียโดยบูรณาการหลักกาลามสูตรของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี

          ผลวิจัยพบว่า 1. การบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดีย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.20) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดีย พบว่า การขับเคลื่อนการดำเนินงาน และหลักกาลามสูตร ส่งผลต่อการบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดียของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. รูปแบบการบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดียโดยบูรณาการหลักกาลามสูตร ได้แก่ การบริหารข้อมูลข่าวสารในยุคโซเชียลมีเดีย 4 ด้านคือ การบริหารจัดการวินัยของสื่อ การบริหารจัดการวินัยของผู้รับสื่อ การมีกรอบกติกาที่ชัดเจน และการจัดตั้งศูนย์กลางบริหารข่าวสาร โดยมีบูรณาการหลักกาลามสูตรในการบริหารข้อมูลข่าวสาร ทั้ง 10 ด้าน อย่าหลงเชื่อในสิ่งที่คนพูดต่อ ๆ กันมา อย่าหลงเชื่อด้วยการนับถือต่อๆ กันมา อย่าหลงเชื่อด้วยการเล่าลือ อย่าหลงเชื่อด้วยการอ้างตำรา อย่าหลงเชื่อเพราะตรรกะ อย่าหลงเชื่อเพราะการอนุมาน อย่าหลงเชื่อโดยอาการที่ปรากฏตามความรู้สึก อย่าหลงเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่ตนยึดถือ อย่าหลงเชื่อเพราะรูปลักษณ์ภายนอก อย่าหลงเชื่อเพราะนับถือว่าเป็นครูของเรา

References

โกสิฐ นันทินบัณฑิต. (2563). การบริหารการข่าวของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 489-502.

ฐานข้อมูลภาครัฐ. (2564). หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.oic.go.th/ginfo/page1.asp.

รัฐบาลไทย. (2564). ดีอีเอส เผยตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 1 ปีดำเนินคดีผู้กระทำผิดแล้ว 61 ราย. สืบค้น 6 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https:/www.thaigov.go.th/news/ContentsDetails/37246.

วริศ ข่ายสุวรรณ และคณะ. (2562). กาลามสูตร : หลักความเชื่อในยุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(2), 178-194

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2553). การใช้กิจกรรมการถอดบทเรียนตามหลักกาลามสูตรของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สรชัย หลำสาคร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารหัวหินสุขใจ ไกลกังวล, 4(1), e0055

สุชีพ ปัญญานุภาพ. (2515). พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เกษมบรรณกิจ.

อมรรัตน์ เตชะนอก และพันทิวา ทับภูมี. (2562). การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 6(2), 25-35.

อลิชา ตรีโรจนานนท์. (2560). การใช้กระบวนการทางปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการรู้เท่าทันสื่อของพระสงฆ์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. 3rded, New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01