การพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระนุชิต นาคเสโน -
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  • สุรพล สุยะพรหม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การสื่อสารทางการเมือง, หลักสาราณียธรรม 6

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการเมือง เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสื่อสารทางการเมือง และเพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาการสื่อสารทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารทางการเมือง คือ นักการเมืองท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญของสังคมมีคนนับหน้าถือตามีทักษะในการสื่อสารโน้มน้าวจูงใจเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีสื่อเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตรวจสอบว่าสิ่งที่สื่อสารไปนั้น เป็นสิ่งที่ถูกหรือผิดหรือเป็นข้อเท็จจริงอย่างไร 2) องค์ประกอบของการพัฒนาการสื่อสารทางการเมือง ด้านผู้ส่งสารต้องมีความรอบรู้ในเรื่องการสื่อสารทางการเมืองในสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นเสมอ เนื้อความการสื่อสารทางการเมืองจะต้องมีเนื้อหาที่เป็นสาระก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ควรมีการเลือกใช้สื่อให้สอดคล้องและมีความเหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภทที่มีต่อผู้รับสารในแต่ละกลุ่ม ผู้รับสารต้องมีการแสวงหาความรู้และมีความสนใจในการรับข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ 3) รูปแบบการพัฒนาการสื่อสารทางการเมือง ประกอบด้วยหลักสาราณียธรรม 6 คือเคารพในสิทธิเสรีภาพให้ความสำคัญแก่ทุกคน พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี เคารพในความคิดของคนอื่น รู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม รักษาความประพฤติกฎระเบียบ รู้จักแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่าง ให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและถูกต้อง

References

ต่อสกุล พุทธพักตร์. (2564). ระบบอุปถัมภ์ในคติเห็นแก่เครือญาติ กับการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(1), 21-421

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2535). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

สถิติประชากรทางการทะเบียนราษร. (2564). สืบค้น 13 ธันวาคม 2564, จาก : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/view.

วัฒนา นนทชิต. (2558). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 3(1), 34-49.

ยุพดี วิภัติภูมิประเทศ. (2558). การสื่อสารทางการเมืองของพลตรีจำลอง ศรีเมืองศึกษาในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2553 (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ทัศนีย์ เนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงสังคม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุพาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01