บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระปลัดพิพัฒน์พงษ์ ภทฺทวํโส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

คำสำคัญ:

บทบาท, พระสงฆ์, การพัฒนาชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาของการพัฒนาชุมชนในยุคปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนว่ามีหลักการและวิธีการอย่างไร มีความเชื่อมโยงระหว่างหลักทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนอย่างไร และพระสงฆ์ควรมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนในยุคปัจจุบันอย่างไร พบว่า บทบาทของพระสงฆ์ที่พึงประสงค์ในการพัฒนาชุมชนในยุคสมัยนี้ คือ 1) ควรมีบทบาทในการปลูกฝังธรรมะในจิตใจ หมายถึง การหล่อหลอมความคิด ทัศนคติ ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ด้วยหลักธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต 2) ควรมีบทบาทในการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจและการเดินทางสายกลาง และ 3) ควรมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นพลังสร้างสรรค์บูรณาการของสังคมเป็นสถาบันที่ถ่ายทอดและปลูกฝังวัฒนธรรมและจริยธรรมทางสังคม ดังนั้น บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาชุมชนในปัจจุบันจึงเป็นการนำหลักพุทธธรรมเข้ามาขัดเกลาสั่งสอนชาวบ้านเพื่อให้เกิดความพร้อมที่จะร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาชีวิตและชุมชน เน้นให้ชาวบ้านรู้จักตัวเอง รู้จักปัญหา รู้จักลดอบายมุข รู้จักพึ่งพาตนเอง สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมีความสุขและนำไปสู่การมีความสามัคคีในหมู่คณะได้และก่อให้เกิดความมีเสถียรภาพในระดับตำบลและถ้าทุกตำบลสามารถมีเสถียรภาพได้ จะนำไปสู่การมีความมั่นคงในระดับชาติได้ในที่สุด

References

เทวินทร์ คงเมือง. (2561). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 2 (2).14-21.

ธิติ กิตติวิทิตคุณ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาชุมชนชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปรีดา เจษฎาวรางกุล .(2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรสฤษดวงศ์.

พระมหากฤษฏา นันทเพชร. (2540). ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระมหาถนอมศักดิ์ สู่ภิภักดิ์. (2546). บทบาทของพระธรรมวิทยากรต่อการปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมเยาวชน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหายรรยง สุรปญฺโญ. (2560). บทบาทพระสงฆ์ไทยกับงานพัฒนาชุมชน.วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 24(3), 47-57.

พระมหาสายันต์ หวานคำ. (2542). บทบาทของพระสงฆ์ในงานสวัสดิการสังคมศึกษากรณีพระสงฆ์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2540). หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ: แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี.(2534). การพัฒนาชุมชน จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก.

วิมลพร สุวรรณแสนทวี. (2565). บทบาทพระสงฆ์ด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(1), 175-186.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2554). คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูปข้อเสนอเชิงนโยบายชุมชนทองถิ่นจัดการตนเองสู่การปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.

สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้งานพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2530). การพัฒนาชุมชนชนบทแนวพุทธวิธี: ศึกษาเฉพาะกรณี พระสงฆ์นักพัฒนา. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2552).การพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20