การพัฒนางานด้านสาธารณสงเคราะห์ตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธ ศาสนาของพระสังฆาธิการในจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • พระมหาพชร กิตฺติวรเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, งานสาธารณสงเคราะห์, แผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพทั่วไป กระบวนการ และ นำเสนอรูปแบบการพัฒนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 201 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลคือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.917 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. พระสังฆาธิการในจังหวัดสระแก้ว มีการดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสงเคราะห์ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง 2. กระบวนการในการพัฒนา ได้แก่ การประชุมวางแผนดำเนินกิจกรรม โดยมีวัดเป็นศูนย์ปฏิบัติกิจกรรม เมื่อเสร็จกิจกรรมมีการทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้น และนำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขี้น นำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป ให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาได้ 3. การพัฒนางานด้านสาธารณสงเคราะห์ คือ การบริหารภารกิจอย่างเป็นรูปธรรม มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ส่งเสริมพระสงฆ์แกนนำในการดำเนินกิจกรรมโดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือ พัฒนาวิชาชีพชุมชน มีการส่งเสริมอาชีพหลักสูตรระยะสั้นให้แก่ประชาชนในชุมชน จัดตั้งมูลนิธิเพื่อช่วยเหลืออนุสงเคราะห์สิ่งที่จำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัย

References

ประเวศ วะสี. (2560). พุทธธรรมกับสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม). (2558) . การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุทธิพงศ์มุนี (สมคิด อคฺคธมฺโม). (2559). การพัฒนาการบริหารจัดการสาธารณสงเคราะห์เพื่อชุมชนของวัดในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม). (2550). สังฆาธิปไตย : ระบอบปกครองสงฆ์. พะเยา: เจริญอักษร.

พระครูอุดมปิยธรรม (เกรียงศักดิ์ ปิยธมฺโม). (2557) . รูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดพระนคครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). เทศน์: การเผยแผ่ที่สำคัญศักดิ์สิทธิ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระใบฎีกาพงษ์ศักดิ์. ขนฺติพโล; และคณะ (2560). กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2561). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ ลาภธนานนท์ และคณะ. (2560). แนวคิดพุทธศาสนาเพื่อสังคม สังคหธุระ และสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธ. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว. (2564) . บัญชีแสดงจำนวนพระสงฆ์จังหวัดสระแก้ว. สระแก้ว: สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดสระแก้ว.

สืบพงษ์ ธรรมชาติ และ พระครูอรุณสิงหธรรม (2558) . ศึกษาบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาพระครูประภัศรธรรมวิธาน (มิ่ง ปภสฺสโร). วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 2(2), 90-91.

องปลัดสิทธิศักดิ์ เถี่ยนยา (แซ่โค้ว). (2558). การบริหารจัดการประสิทธิภาพการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อนัมนิกายในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). พระนครศรีอยุทธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20