ต้นทุนผลตอบแทนทางการเงินและช่องทางการตลาดในการปลูกต้นเตยหอมแบบผสมผสานในสวนปาล์มน้ำมัน กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกร ในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
ต้นทุน-ผลตอบแทนทางการเงิน, ช่องทางการตลาด, เตยหอมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ต้นทุนผลตอบแทนทางการเงินในการปลูกเตยหอม และ 2. ช่องทางการตลาดของเตยหอมแบบผสมผสานในส่วนปาล์มน้ำมัน ในพื้นที่ตำบลนาพญา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกเตยหอมจำนวน 10 ตัวอย่าง แบ่งตามขนาดพื้นที่ปลูก 1-5 ไร่ และ 6-10 ไร่ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ผลตอบแทนการเงินในการลงทุน ด้วยการพิจารณาทางการเงิน ได้แก่ NPV, IRR, B/C ratio และ Payback Period รวมถึงความอ่อนไหวของโครงการ
ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่สวน 1-5 ไร่ ใช้ต้นทุนรวมเฉลี่ยทั้งหมด เท่ากับ 26,304 บาท และต้นทุนแปรผัน 13,496 บาท ต้นทุนคงที่ 12,808 บาท และผลผลิตเฉลี่ยรายเดือน เท่ากับ 3,606.33 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนแล้วจะได้กำไรทั้งหมด เท่ากับ 16,971 บาท โครงการมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 8 เดือน 22 วัน โดย พื้นที่สวน 6-10 ไร่ ใช้ต้นทุนรวมเฉลี่ยทั้งหมด เท่ากับ 35,751 บาท/ไร่ และต้นทุนคงที่ เท่ากับ 17,378 บาท/ไร่ ต้นทุนผันแปร 18,373 บาท และผลผลิตเฉลี่ยรายเดือน เท่ากับ 4,968.75 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนแล้วจะได้กำไรทั้งหมด เท่ากับ 23,874 บาท โครงการมีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 8 เดือน 14 วัน และผลการศึกษาของช่องทางการตลาดพบว่า เงื่อนไขการชำระเงิน ทั้งหมด ชำระเงินสดทันที โดยส่วนใหญ่ มีวิธีการจัดจำหน่าย มาจากพ่อค้าจากต่างจังหวัดมาชื้อที่สวน รองลงมา พ่อค้าที่รับจากสวนนำไปจัดจำหน่ายให้พ่อค้าแม่ค้าในท้องตลาด
References
กมลชนก แข็งมาก และ สมศักดิ์ เพียบพร้อม. (2559). การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนทางการเงินของการลุงทุนปลูกยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณิภา อนุรักษากรกุล และคณะ (2559). การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ทางการเงินในการลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน ในจังหวัดชลบุรี (สารนิพนธ์ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์และคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พันศักดิ์ จิตรรัตน์. (2560). ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น ปี 2560.สืบค้น 4 มกราคม 2563, จาก https://www.moac.go.th/philosopher-philosopher-knowledge
ศศิประภา แสงฉาย. (2553). การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนต่อไร่จากการลงทุนเพาะปลูกระหว่างกาแฟพันธุ์อาราบิก้าและกล้วยน้ำว้า ณ พื้นที่บ้านดงมะไฟ จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศศิธร ปาสอน. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินในการผลิตลำไยนอกฤดูของชาวสวนลำไยในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต), เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.