การบริหารจัดการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่ ตามแนววิถีปกติใหม่

ผู้แต่ง

  • พระวิมลมุนี (นนทพันธ์ ปภสฺสโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ, จังหวัดเชียงใหม่, แนววิถีปกติใหม่, การบริหารจัดการ

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง การบริหารจัดการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่ตามแนววิถีปกติใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ จังหวัดเชียงใหม่ การบริหารตามแนววิถีปกติใหม่ ผลของการบริหารโครงการตามแนววิถีปกติใหม่ และปัจจัยเอื้อให้เกิดผลที่พึงประสงค์จากการบริหารโครงการฯ ตามแนววิถีปกติใหม่ มีผลการค้นพบดังนี้ บริบทการบริหารโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 จังหวัดเชียงใหม่ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ประกอบด้วยพระสงฆ์และข้าราชการฝ่ายฆราวาส และคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่ทุกระดับ นับแต่ระดับจังหวัดถึงระดับตำบล สำหรับการบริหารโครงการหมู่บ้านฯต้นแบบ มีการพัฒนาโครงการหมู่บ้านปลอดสุราเป็นต้นแบบของแต่ละอำเภอขึ้นมา การบริหารโครงการและการประเมินผล ส่วนใหญ่พบว่า ในเชิงปริมาณ มีหมู่บ้านต้นแบบที่ประชาชนสมัครใจรักษาศีล 5 และเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านปลอดสุรา ร้อยละ 80 เป็นการรายงานเชิงปริมาณ แต่ในเชิงคุณภาพ ยังไม่สามารถปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมตามประสงค์ เพื่อหาทางพัฒนาการบริหารโครงการฯ จึงเสนอหลักการบริหารตามแนววิถีปกติใหม่ ในยุคโควิด- 19 ด้วยความมุ่งหวังว่า หลักการบริหารตามแนววิถีปกติใหม่ ที่มีปัจจัยหลายด้านเป็นตัวขับเคลื่อน จะส่งเสริมและสนับสนุนให้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ  บรรลุผลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพได้อย่างดี และเหมาะสมตามยุควิถีปกติใหม่

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559).กลุ่มชาติพันธุ์. สืบค้น 10 มีนาคม 2565, จาก hhdclampang.anamai.moph.go.th.

ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2563). การบริหารคนยุค New normal [คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์]. สืบค้นวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttp://tamrongsakk.blogspot.com

พระเทพสิงหวราจารย์ (โสภณ โสภโณ/ยอดคาปา). 2562. การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระเพิ่มเติม ช่วงที่ 1) (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาสองเมือง อธิมุตฺโต (จอมพล). (2560). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้ารักษาศีล 5 ระยะที่ 1-2 ชุมชนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ. (2560). หมู่บ้านรักษาศีล 5 : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2 ฉบับพิเศษ), 435-448.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดปากน้ำภาษีเจริญ โครงการรักษาศีล. สืบค้นวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565.จากhttps://www.sila5.com/detail.

ศักดิ์ชาย มงคลเคหา. (2561). ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 82-91.

สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดเชียงใหม่. (2565). ศีล 5. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://core.sila5.com

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2556). คู่มือการดำเนินงานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หมู่บ้านศีล 5. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557). คู่มือดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20