พฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาคณิน สุวณฺโณ (เร่งทอง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมทางการเมือง, การตัดสินใจ, สังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเมืองผู้นำท้องถิ่นกับการตัดสินใจของประชาชน 3) ศึกษาการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 ในการตัดสินใจของประชาชน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 397 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมทางการเมืองผู้นำท้องถิ่น กับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางการประยุกต์หลักสังคหวัตถุ 4 สามารถกระทำได้ดังนี้ ประชาชนควรพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้งผู้นำท้องถิ่น จากคุณลักษณะของการเป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ที่พูดจริงทำจริง ตรงไปตรงมา สามารถอธิบายเรื่องต่าง ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง เป็นผู้ให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชน และชุมชน ปฏิบัติตนสม่ำเสมอทั้งงานในหน้าที่ คุณธรรม การช่วยเหลือชุมชน และการพัฒนาตนเอง

References

ขวัญฤทัย แจ่มแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี (งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารงานยุติธรรมและสังคม). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เฉลิมพล นุชอุดม และกานดา ผรณเกียรติ์. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32-44.

โชคสุข กรกิตติชัย. (2561). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ธมลวรรณ วรรณปลูก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกเทศมนตรี : ศึกษากรณีเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ประคอง มาโต และคณะ. (2565). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนมีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 115-128.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ ปสิวิโก) และคณะ. (2564). บูรณาการองค์ประกอบของอิทธิพลของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครด้วยหลักพุทธธรรม. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 4(4), 1-10.

พระวุฒิชัย หิตวิชฺโช (เภาโพธิ์), และคณะ. (2565). พฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นตามทรรศนะของประชาชนในอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 84-95.

พลพันธ์ แช่มช้อย. (2559). พฤติกรรมทางการเมืองของนายกนายกเทศมนตรีเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษานายจรัส ไชยยา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินิจ ผาเจริญ. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งซ่อมเขต 8 จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 8(1), 91-101.

สุพัฒน์จิตร ลาดบัวขาว. (2561). การเลือกตั้งท้องถิ่น : ข้อจำกัดของกระบวนการประชาธิปไตย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 170-197.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20