การออกแบบและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสิริธรรมบัณฑิต (ภาณุวัฒน์ ปฏิภาณเมธี) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ณรงค์ ปัดแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อรทัย พิไชยวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การออกแบบ, ต้นแบบผลิตภัณฑ์, เศรษฐกิจสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการสร้างชุมชนนวัตกรรมบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากพิพิธภัณฑ์ชุมชน เสนอแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ และนำเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์จากพิพิธภัณฑ์ชุมชนสู่ชุมชนอื่นในรูปแบบนิทรรศการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีจำนวน 35 รูป/คน โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ได้ศึกษาองค์ประกอบในพื้นที่ 3 แห่ง ได้แก่ วัดปงสนุกเหนือ วัดไหล่หินหลวง และวัดบ้านหลุก พบว่า ต้ององค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ มีผู้นำที่พร้อม แผนของชุมชน ทุนจากภายใน การมีส่วนร่วมในชุมชน ความคิดสร้างสรรค์ เครือข่ายพันธมิตร การจัดการความรู้ และแรงสนับสนุน โดยทุกองค์ประกอบต้องกำกับติดตามดูแลโดยผู้นำที่เข้มแข็ง 2. ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยมีกระบวนการที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการองค์กร การตลาด การผลิตและบริการให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของชุมชนและสังคมควบคู่กันไป และปรับปรุงพัฒนาอยู่เสมอนำไปสู่ความยั่งยืน 3. ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ที่นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก คือ กรอบรูป ธง กระต่ายขูดมะพร้าว ฮอกควาย และครกไม้ ซึ่งการจัดแสดงนิทรรศการนั้นจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องอาศัยกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือได้แก่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570. สืบค้น 24 กันยายน 2565, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/930-2563-2570.html

จุฑามาศ แก้วพิจิตร. (2559). การศึกษากระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, 8(1), 32-59.

ฐาปกรณ์ ทองคำนุช และคณะ. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยด้วยแนวคิดพิพิธภัณฑ์จุดหมายปลายทาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 38-52.

ทรงศักดิ์ แก้วมูล. (2549). การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.

บุรินทร์ และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืดแม่สมศรี ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 206-230.

ศากุล ช่างไม้. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 18(1), 42-53.

สมเกียรติ สุทธินรากร และคณะ. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหาร จัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 270-283.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31