การเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • พระโกศล มณิรตนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย
  • พระมหาสุดใจ ชยวุฑฺโฒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ และกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย 3) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยลงพื้นที่สำรวจบริบท วัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธ และทรัพยากรวัฒนธรรม การสัมภาษณ์ การประชุมกลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1. การเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย มี 3 ข้อ คือ 1) การจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธ ประกอบด้วย การจัดการวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญา ความเชื่อ คุณธรรมจริยธรรม และลานวัฒนธรรม 2) การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชน ประกอบด้วย การจัดการโดยหน่วยงานภาครัฐ โดยวัดและชุมชน และ 3) การเสริมสร้างศักยภาพการจัดการคน องค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชน 2. การพัฒนารูปแบบ และกิจกรรมการเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย มี 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธ 2) รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชน และ 3) รูปแบบการจัดการคนองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรมชุมชน 3. รูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพวัฒนธรรมชุมชนวิถีพุทธตามแนวชายแดนจังหวัดเลย นั้นมาจากการศึกษาวิเคราะห์องค์ความรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชน และการจัดการ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชน การเสริมสร้างเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในชุมชน

References

กฤษฎา ไชยงาม และคณะ (2560). การศึกษาศักยภาพชุมชนเพื่อการส่งเสริมการท่องเทียวโดยชุมชนแบบมีส่วนร่วมบ้านอาฮี ตำบลอาฮี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

นฤดล สวัสดิ์ศรี และมัสลิน ปูนอน (2562). ศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดมหาสารคามเพื่อไปสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก. (2541). สมบัติเมืองเลย. เลย: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเลย.

สนิกถา พงษ์เสน่ห์ และคณะ (2555). วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทางสังคมของชุมชนบ้านแสงภา ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สุหัทยา วิเศษ และคณะ. (2563). การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

สำนักงานจังหวัดเลย. (2560). รายงานประจำปี 2560. เลย: สำนักงานจังหวัดเลย.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย. (2564). บ้านท่าดีหมี. เลย: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเลย.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย. (2561). แผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. เลย : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเลย.

สุเทพ สารบรรณ และคณะ. (2560). กระบวนการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา (รายงานการวิจัย). พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20