ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • มัทนา เมฆตรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล , การนำนโยบายไปปฏิบัติ, ธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

พบว่า 1. ประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติ พบว่า การนำโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จส่งผลต่อประสิทธิผลในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 5 ตัวแปร และหลักอิทธิบาท 4 ส่งผลต่อประสิทธิผลในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 3 ตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในธุรกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยโดยนำหลักอิทธิบาท 4 เข้ามาบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิผลคือ 1) ฉันทะ พอใจในนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐและมุ่งหวังให้เกิดผลสำเร็จ 2) วิริยะ เต็มใจนำนโยบายส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้ามาปฏิบัติ 3) จิตตะ เอาใจใส่ มีการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ 4) วิมังสา พิจารณาใคร่ครวญในการนำนโยบายมาปฏิบัติ

References

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2559). แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับ ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: คณะทำงานศึกษาและจัดทำแผนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย.

คณะกรรมาธิการการพลังงาน. (2564). รายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง ยานยนต์ไฟฟ้า คณะกรรมาธิการการพลังงานสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

คำตอบกระทู้ที่ 207/ร. (2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 296.

เจริญชัย กุลวัฒนาพร. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชนะพงษ์ กล้ากสิกิจ. (2562). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดกาแพงเพชร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ทิรัศม์ชญา พิพัฒน์เพ็ญ และคณะ. (2557). การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการของเทศบาลนครสงขลา. (รายงานวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิพัฒน์สุตคุณ (เตชธโร). (2560). การมีส่วนร่วมด้านนโยบายภาครัฐสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูษิต วิเศษคามินทร์. (2563). ประสิทธิผลการนำนโยบายการแก้ปัญหาจราจรไปปฏิบัติของกองบังคับการตำรวจจราจร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศศิพัชร์ วัฒนรวีวงศ์. (2564). พุทธบูรณาการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแหงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). โมเดลสมการโครงสร้างประสิทธิผลการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis (3rded) New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20