การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของกรมชลประทาน โดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม

ผู้แต่ง

  • อดิเทพ ภิญญาเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรินทร์ นิยมางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, กรมชลประทาน, การประยุกต์ใช้หลักธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกรมชลประทาน โดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธีโดยประชากรคือ บุคลากรของกรมชลประทาน จำนวน 19,163 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 392 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสูตรของ ทาโร่ยามาเน่

          ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. หลักสัปปุริสธรรม 7 ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกรมชลประทานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกรมชลประทาน โดยการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรม คือ การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย ธัมมัญญุตา รู้จักเหตุ อัตถัญญุตา รู้จักผล อัตตัญญุตา รู้จักตน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ กาลัญญุตา รู้จักกาล ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน และปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล ปัจจัยที่พัฒนาการบริหารจัดการ
6 ด้าน  1. ด้านการพัฒนาอย่างองค์รวม 2. ด้านการมีลักษณะของสหวิทยา 3. ด้านการอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน 4. ด้านการมีความเป็นเอกภาพ 5. ด้านการมีความเป็นเครือข่าย 6. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

References

กรมชลประทาน. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้น 9 ตุลาคม 2564, จาก https://www.rid.go.th/main/_data/docs/63/RIDAnnual2563.pdf

ประยูร เจนตระกูลโรจน์. (2564). การบริหารสู่ความเป็นเลิศโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของสถานพยาบาลภาครัฐในกรุงเทพมหานคร (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อการบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). การประยุกต์หลักพุทธจริยธรรมเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในจังหวัดชัยภูมิ (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิศิต ธีรวํโส. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการปกครองของพระสังฆาธิการระดับอำเภอ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 11(ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภวัต นิตย์โชติ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพละ 4 ของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสงขลา (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

สุวรรณ์ แก้วนะ (2564). การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. (2nd Ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31