ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พระครูวรธรรมวาที (นิพนธ์ ฉนฺทวุฑโฒ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมาน งามสนิท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ส่งเสริม, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองในจังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เป็นวิจัยเชิงปริมาณ โดยแจกแบบสอบถามกับบุคลากรที่ทำการปกครองจังหวัด และที่ทำการปกครองอำเภอ จำนวน 183 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน

เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร 183 คน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และภาคสนาม               ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป หรือคน และมีการสนทนากลุ่มเฉพาะ       จำนวน 10 คน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการสังเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ทำการปกครองในจังหวัดปทุมธานี ในการประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ เมตตากายกรรม (ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ) (X̅ = 4.19) ทิฏฐิสามัญญาตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพระหมจรรย์ทั้งหลาย) (X̅ = 4.17)  สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย)             (X̅ = 4.10) ด้านเมตตามโนกรรม ( ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำ) และ      ด้านสาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกันไป) (X̅ = 4.08)  และด้านเมตตาวจีกรรม (ช่วยบอกแจ้ง    สิ่งที่เป็นประโยชน์)  (X̅ = 4.04) ตามลำดับ

2. การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร      ที่ทำการปกครองในจังหวัดปทุมธานี โดยการนำหลักสาราณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง) ด้านเมตตากายกรรม (ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ) ด้านทิฏฐิสามัญญาตา (มีทิฏฐิ     ดีงามเสมอกันกับเพื่อนพระหมจรรย์ทั้งหลาย) ด้านสีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย) ด้านเมตตามโนกรรม ( ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำ) และด้านสาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกันไป) และด้านเมตตาวจีกรรม (ช่วยบอกแจ้ง    สิ่งที่เป็นประโยชน์) นำไปปรับใช้ในสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรในประจำวัน เพื่อให้บุคลากร     มีสมรรถนะที่เข็งแกร่งมากขึ้น ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

References

ชลารักษ์ นุชแดง. (2555). การพัฒนาสมรรถนะหลักของข้าราชการพลเรือนกรมการพัฒนาชุมชน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐศรัณย์ ชุมวรฐายี. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของนักบริหารและพัฒนาเมืองตามความต้องการของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษากรณี จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 50-63.

ธรรมนูญ มูณีเกิด และคณะ. (2563). การใช้หลักสาราณียธรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวันครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 18-34.

พระเกรียงศักดิ์ กิตฺปญฺโญ.(2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกําหนดนโยบายการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตําบลประสงค์ อําเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูพิบูลย์ธรรมสถิต (สถิต ฐิตสุโข). (2561). การนำหลักสาราณียธรรม 6 ไปใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(1), 110-121.

พระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี.(2559). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาสมรรถนะองค์การบริหารส่วนตําบล ในการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประยุทธ ญาณเมธี.(2558). การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วน ตําบลในอําเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยะ มทฺทโว. (2564). การประยุกต์หลักสาราณียธรรม เพื่อส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 263-276.

พระมหาอุดร อุตฺตโร.(2557). สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูสํานักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ตามหลักกัลยาณมิตร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรัณน์พัชร์ ไผ่พูล. (2559). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์อําเภอเมืองกาฬสินธุ์จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08